องค์การอนามัยโลก (ฮู) ยืนยันในวันพุธ (18 ธ.ค.) ตามการแถลงก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันของทางการผู้รับผิดชอบของจีนที่ว่า มีหญิงชราผู้หนึ่งเสียชีวิตในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของแดนมังกร จากไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N8 นับเป็นมนุษย์รายแรกซึ่งพบว่าติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ ขณะเดียวกัน อนามัยโลกบอกว่า เรื่องนี้ “น่าเป็นห่วง” แต่ยังไม่พบความเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อจากคนสู่คน
ฮูระบุในคำแถลงของตนว่า หญิงวัย 73 ปีผู้นี้เสียชีวิตในวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา 6 วันหลังจากเธอติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N8 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบในคนมาก่อน ถึงแม้ได้ถูกตรวจพบในสัตว์ปีกมาตั้งแต่ปี 1965 ในประเทศต่างๆ อย่างน้อย 7 ประเทศรวมทั้งจีนด้วย
คำแถลงขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่าหญิงชราผู้นี้ติดเชื้อมาได้อย่างไร แม้จะเป็นที่ทราบกันอยู่ว่าสัตว์ปีกทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและที่เลี้ยงกันในฟาร์มสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่ตัวคนไข้ผู้นี้เองก็ได้เคยไปยังตลาดค้าสัตว์ปีกเป็นๆ เมื่อ 4 วันก่อนที่เธอจะล้มป่วย
ทางด้าน ทิโมธี โอเรียลี โฆษกองค์การอนามัยโลกประจำสำนักงานภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เจ้าหน้าที่ของฮูกำลังทำงานร่วมกับทางการจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจไวรัสที่ติดคนสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดนี้ ซึ่งแม้ว่ายังไม่รู้ที่มาที่ไป แต่แน่ใจได้ว่า มีสัตว์ปีกเป็นพาหะ และไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมาย ถ้าหากหลังจากนี้ตรวจพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่ม
โอเรียลีเสริมว่า ทุกครั้งที่เชื้อไวรัสสามารถข้ามผ่านอุปสรรคด้านสายพันธุ์และแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้ ล้วนต้องถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง กระนั้น กรณีนี้อยู่ภายใต้การตรวจสอบของทางการจีนแล้ว อีกทั้งไม่มีหลักฐานว่า มีการแพร่เชื้อระหว่างคนกับคนแต่อย่างใด
ฮูระบุในคำแถลงของตนว่า หญิงวัย 73 ปีผู้นี้เสียชีวิตในวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา 6 วันหลังจากเธอติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N8 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบในคนมาก่อน ถึงแม้ได้ถูกตรวจพบในสัตว์ปีกมาตั้งแต่ปี 1965 ในประเทศต่างๆ อย่างน้อย 7 ประเทศรวมทั้งจีนด้วย
คำแถลงขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่าหญิงชราผู้นี้ติดเชื้อมาได้อย่างไร แม้จะเป็นที่ทราบกันอยู่ว่าสัตว์ปีกทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและที่เลี้ยงกันในฟาร์มสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่ตัวคนไข้ผู้นี้เองก็ได้เคยไปยังตลาดค้าสัตว์ปีกเป็นๆ เมื่อ 4 วันก่อนที่เธอจะล้มป่วย
ทางด้าน ทิโมธี โอเรียลี โฆษกองค์การอนามัยโลกประจำสำนักงานภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เจ้าหน้าที่ของฮูกำลังทำงานร่วมกับทางการจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจไวรัสที่ติดคนสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดนี้ ซึ่งแม้ว่ายังไม่รู้ที่มาที่ไป แต่แน่ใจได้ว่า มีสัตว์ปีกเป็นพาหะ และไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมาย ถ้าหากหลังจากนี้ตรวจพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่ม
โอเรียลีเสริมว่า ทุกครั้งที่เชื้อไวรัสสามารถข้ามผ่านอุปสรรคด้านสายพันธุ์และแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้ ล้วนต้องถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง กระนั้น กรณีนี้อยู่ภายใต้การตรวจสอบของทางการจีนแล้ว อีกทั้งไม่มีหลักฐานว่า มีการแพร่เชื้อระหว่างคนกับคนแต่อย่างใด