สื่อนอกอย่างสำนักข่าวเอพี ระบุชัด “แม้ว” บงการรัฐบาลจากดูไบ ดิ้นรนทุกทางเพื่อให้ได้คืนสู่อำนาจ แต่กลับทำให้สถานการณ์การเมืองร้าวลึกและนองเลือด เชื่อทักษิณยังต้องเร่ร่อนอยู่นอกประเทศอีกนานจากการคำนวณผิดพลาดดัน พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย กระนั้น นักวิเคราะห์เชื่อว่า เงินทองที่มีมหาศาล อีกทั้งเครือข่ายบริวารที่ยังอยู่ในตำแหน่ง และพวกเสื้อแดงในต่างจังหวัดที่นิยมชมชอบเขา ทำให้แม้วจะยังคงใช้อิทธิพลที่มีอย่างเหลือเฟือชักใยสถานการณ์ในเมืองไทยต่อไปอีกหลายปี
รายงานของสำนักข่าวเอพี ระบุว่า ทักษิณ ชินวัตร จะยังคงเป็นบุคคลที่สร้างความขัดแย้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย โดยชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในเมืองหลวงกล่าวหาว่าเขาเหิมกริม ร่ำรวยอย่างรวดเร็วจากการคอร์รัปชั่น อีกทั้งท้าทายโครงสร้างอำนาจที่รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่เทิดทูนของคนจนจากการแจกเงินและทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจ
“เขาซื้อทุกอย่างในประเทศนี้ เขาต้องการแม้กระทั่งซื้อวิญญาณของคุณ” จินดา ธรรมวงศ์ นักธุรกิจหญิงที่ไปร่วมเดินขบวอยู่ในกลุ่มประชาชนที่ตะโกน “ทักษิณออกไป!” บอกกับเอพี
ขณะเดียวกัน คนภาคอีสานซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญยกย่องว่า แม้วนำสวัสดิการหลายอย่างมามอบให้ เช่น ไฟฟ้า เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การรักษาพยาบาลฟรี การรับซื้อข้าวโดยให้ราคาดี "ทั้งหมดนี้เป็นเพราะทักษิณ เพราะแบบนี้คนต่างจังหวัดถึงอยากให้เขากลับมา” ทองจัน โพตากลาง ชาวบ้านวัย 61 ปีของหมู่บ้านคำบอน (Kambon) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือคนหนึ่งบอก
นโยบายประชานิยม สไตล์การบริหารแบบซีอีโอ และการยินดีลงพื้นที่พบปะชาวบ้านในชนบทส่งให้ทักษิณได้ใจผู้สนับสนุนนับล้าน แต่ขณะเดียวกัน เขากลับจำกัดเสรีภาพสื่อ นำเทือกเถาวงศ์วานเข้ารับตำแหน่งสำคัญๆ และทำลายระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยด้วยการโยกย้ายข้าราชการที่ต่อต้านตนเอง
กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกล่าวหาทักษิณใช้ศาลเตี้ยในสงครามปราบปรามยาเสพติดปี 2546 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,200 คน
เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามผลักดันพรบ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภา เพื่อนิรโทษกรรมให้แก่พี่ชาย รวมทั้งผู้นำรัฐบาลชุดที่แล้วที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งรวมถึงสุเทพที่สั่งให้กองทัพเคลียร์กลุ่มเสื้อแดงที่ก่อจลาจลในย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 90 คนในช่วง 2 เดือนที่เกิดความวุ่นวายบนท้องถนน
ทว่า ความพยายามดังกล่าวล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และกลับจุดชนวนให้ประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาประท้วงโดยมุ่งมั่นที่จะล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถึงแม้สภาสูงยอมถอนพรบ.ฉบับนั้น และยิ่งลักษณ์ยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ตาม
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า แม้บริษัทบริวารของทักษิณยังคงสามารถครองอำนาจ แต่หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ทำให้ทางเลือกในการกลับประเทศของเขาเหลือเพียง 2 ทางคือ ขอพระราชทานอภัยโทษซึ่งไม่มีแนวโน้มเกิดขึ้น หรือไม่ก็ต้องยอมเข้าคุก
แต่เอพีก็ชี้ว่า แม้เพลี่ยงพล้ำ แต่ไม่ได้หมายความว่า อำนาจทางการเมืองของทักษิณอ่อนแอลง เนื่องจากเขายังมีเงินทองมากมายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเมืองไทย ทั้งนี้ ฟอร์บส์ประเมินในปีนี้ว่า ตระกูลชินวัตรมีทรัพย์สินถึง 1,700 ล้านดอลลาร์ และเป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดอันดับ 10 ของเมืองไทย
รายงานของสำนักข่าวเอพี ระบุว่า ทักษิณ ชินวัตร จะยังคงเป็นบุคคลที่สร้างความขัดแย้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย โดยชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในเมืองหลวงกล่าวหาว่าเขาเหิมกริม ร่ำรวยอย่างรวดเร็วจากการคอร์รัปชั่น อีกทั้งท้าทายโครงสร้างอำนาจที่รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่เทิดทูนของคนจนจากการแจกเงินและทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจ
“เขาซื้อทุกอย่างในประเทศนี้ เขาต้องการแม้กระทั่งซื้อวิญญาณของคุณ” จินดา ธรรมวงศ์ นักธุรกิจหญิงที่ไปร่วมเดินขบวอยู่ในกลุ่มประชาชนที่ตะโกน “ทักษิณออกไป!” บอกกับเอพี
ขณะเดียวกัน คนภาคอีสานซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญยกย่องว่า แม้วนำสวัสดิการหลายอย่างมามอบให้ เช่น ไฟฟ้า เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การรักษาพยาบาลฟรี การรับซื้อข้าวโดยให้ราคาดี "ทั้งหมดนี้เป็นเพราะทักษิณ เพราะแบบนี้คนต่างจังหวัดถึงอยากให้เขากลับมา” ทองจัน โพตากลาง ชาวบ้านวัย 61 ปีของหมู่บ้านคำบอน (Kambon) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือคนหนึ่งบอก
นโยบายประชานิยม สไตล์การบริหารแบบซีอีโอ และการยินดีลงพื้นที่พบปะชาวบ้านในชนบทส่งให้ทักษิณได้ใจผู้สนับสนุนนับล้าน แต่ขณะเดียวกัน เขากลับจำกัดเสรีภาพสื่อ นำเทือกเถาวงศ์วานเข้ารับตำแหน่งสำคัญๆ และทำลายระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยด้วยการโยกย้ายข้าราชการที่ต่อต้านตนเอง
กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกล่าวหาทักษิณใช้ศาลเตี้ยในสงครามปราบปรามยาเสพติดปี 2546 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,200 คน
เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามผลักดันพรบ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภา เพื่อนิรโทษกรรมให้แก่พี่ชาย รวมทั้งผู้นำรัฐบาลชุดที่แล้วที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งรวมถึงสุเทพที่สั่งให้กองทัพเคลียร์กลุ่มเสื้อแดงที่ก่อจลาจลในย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 90 คนในช่วง 2 เดือนที่เกิดความวุ่นวายบนท้องถนน
ทว่า ความพยายามดังกล่าวล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และกลับจุดชนวนให้ประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาประท้วงโดยมุ่งมั่นที่จะล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถึงแม้สภาสูงยอมถอนพรบ.ฉบับนั้น และยิ่งลักษณ์ยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ตาม
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า แม้บริษัทบริวารของทักษิณยังคงสามารถครองอำนาจ แต่หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ทำให้ทางเลือกในการกลับประเทศของเขาเหลือเพียง 2 ทางคือ ขอพระราชทานอภัยโทษซึ่งไม่มีแนวโน้มเกิดขึ้น หรือไม่ก็ต้องยอมเข้าคุก
แต่เอพีก็ชี้ว่า แม้เพลี่ยงพล้ำ แต่ไม่ได้หมายความว่า อำนาจทางการเมืองของทักษิณอ่อนแอลง เนื่องจากเขายังมีเงินทองมากมายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเมืองไทย ทั้งนี้ ฟอร์บส์ประเมินในปีนี้ว่า ตระกูลชินวัตรมีทรัพย์สินถึง 1,700 ล้านดอลลาร์ และเป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดอันดับ 10 ของเมืองไทย