นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการะทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศแถลงการณ์พรรคเพื่อไทย ต่อกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวหน้าผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ได้แถลงในวานนี้ (1 ธ.ค.) และจากการที่ในขณะนี้ผู้ชุมนุมได้ยึดสถานที่ราชการหลายแห่งและใช้ความรุนแรงและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล และใช้กำลังข่มขู่คุกคามบีบบังคับสื่อมวลชนให้เสนอข่าวของตน การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ไม่ใช่อารยะขัดขืน สันติ อหิงสาหรือสงบอีกต่อไป โดยแถลงการณ์เรียกร้อง 7 ข้อ ดังนี้
1. พรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้แกนนำผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมให้ยุติการยึดอาคารและสถานที่ราชการ และยุติการใช้ความรุนแรงทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการดำเนินการของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อให้ตนเองและพวกได้มาซึ่งอำนาจโดยที่ประชาชนไม่ได้เลือกตั้ง และเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญา ฐานก่อกบฏ ที่มีโทษถึงประหารชีวิต อีกทั้งการกระทำดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
3. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนั้นต้องกระทำโดยการพูดคุยหาทางออกระหว่างฝ่ายต่างๆ โดยสันติวิธี นอกจากฝ่ายที่มีความเห็นขัดแย้งกันแล้ว ยังต้องรับฟังความเห็นของคนไทยผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทั้งประเทศ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศร่วมกันอีกด้วย
4. พรรคเพื่อไทยขอเรียนชี้แจงว่า การที่นายสุเทพ กล่าวหาว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม เพราะไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้น พรรคขอชี้แจงอีกครั้งหนึ่งว่า พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยประเด็นที่มาของ ส.ว.ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะรับคดีไว้พิจารณาและวินิจฉัยเช่นนั้น ซึ่งเป็นการประกาศว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการรับและพิจารณาคดีนี้เป็นการเฉพาะเจาะจง และมิใช่เป็นการประกาศไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นเป็นการทั่วไป
5. พรรคเพื่อไทยเห็นว่า คนไทยทุกคนมีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่การยึดสถานที่ราชการ ก่อการจลาจล ยึดสถานีโทรทัศน์ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อยึดทำเนียบรัฐบาล มิใช่การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ และทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นนายสุเทพ จึงไม่มีความชอบธรรมใดๆเลย ที่จะกล่าวอ้างว่าการกระทำของตนและพวกเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในทางตรงข้ามศาลได้ออกหมายจับนายสุเทพไปแล้ว จากการละเมิดกฎหมายบ้านเมือง
6. ส่วนกรณีที่นายสุเทพ สั่งให้ข้าราชการหยุดงานในวันที่ 2 ธันวาคม นั้น การกระทำของนายสุเทพ เป็นคำสั่งที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ขอให้ข้าราชการไม่ต้องปฏิบัติตาม เพราะนายสุเทพไม่มีอำนาจใดๆ ตามกฎหมาย อีกทั้งเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาฐานฆ่าคนตายและคดีอุกฉกรรจ์อื่นๆ จากการกระทำในครั้งนี้
7. การที่นายสุเทพ ไปพบนายกรัฐมนตรีต่อหน้าผู้นำเหล่าทัพนั้น แสดงให้เห็นว่านายกฯ ประสงค์ที่จะแก้ปัญหาโดยการพูดคุยกันอย่างสันติวิธี และขอให้นายสุเทพ หยุดทำร้ายประเทศไทย การพูดคุยกันมิได้เปลี่ยนแปลงสถานะนายสุเทพ จากผู้ต้องหาคดีอาญาที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นที่ชัดเจนต่อมาว่านายสุเทพ ยังประสงค์ที่เดินหน้ากระทำความผิดอาญาโดยการใช้กำลังล้มรัฐบาลต่อไป
อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยยืนยันว่า จะขอสนับสนุนแนวทางการทำงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะการไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม เพื่อพิทักษ์กฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มั่นคงสืบไป
1. พรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้แกนนำผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมให้ยุติการยึดอาคารและสถานที่ราชการ และยุติการใช้ความรุนแรงทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการดำเนินการของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อให้ตนเองและพวกได้มาซึ่งอำนาจโดยที่ประชาชนไม่ได้เลือกตั้ง และเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญา ฐานก่อกบฏ ที่มีโทษถึงประหารชีวิต อีกทั้งการกระทำดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
3. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนั้นต้องกระทำโดยการพูดคุยหาทางออกระหว่างฝ่ายต่างๆ โดยสันติวิธี นอกจากฝ่ายที่มีความเห็นขัดแย้งกันแล้ว ยังต้องรับฟังความเห็นของคนไทยผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทั้งประเทศ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศร่วมกันอีกด้วย
4. พรรคเพื่อไทยขอเรียนชี้แจงว่า การที่นายสุเทพ กล่าวหาว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม เพราะไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้น พรรคขอชี้แจงอีกครั้งหนึ่งว่า พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยประเด็นที่มาของ ส.ว.ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะรับคดีไว้พิจารณาและวินิจฉัยเช่นนั้น ซึ่งเป็นการประกาศว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการรับและพิจารณาคดีนี้เป็นการเฉพาะเจาะจง และมิใช่เป็นการประกาศไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นเป็นการทั่วไป
5. พรรคเพื่อไทยเห็นว่า คนไทยทุกคนมีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่การยึดสถานที่ราชการ ก่อการจลาจล ยึดสถานีโทรทัศน์ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อยึดทำเนียบรัฐบาล มิใช่การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ และทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นนายสุเทพ จึงไม่มีความชอบธรรมใดๆเลย ที่จะกล่าวอ้างว่าการกระทำของตนและพวกเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในทางตรงข้ามศาลได้ออกหมายจับนายสุเทพไปแล้ว จากการละเมิดกฎหมายบ้านเมือง
6. ส่วนกรณีที่นายสุเทพ สั่งให้ข้าราชการหยุดงานในวันที่ 2 ธันวาคม นั้น การกระทำของนายสุเทพ เป็นคำสั่งที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ขอให้ข้าราชการไม่ต้องปฏิบัติตาม เพราะนายสุเทพไม่มีอำนาจใดๆ ตามกฎหมาย อีกทั้งเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาฐานฆ่าคนตายและคดีอุกฉกรรจ์อื่นๆ จากการกระทำในครั้งนี้
7. การที่นายสุเทพ ไปพบนายกรัฐมนตรีต่อหน้าผู้นำเหล่าทัพนั้น แสดงให้เห็นว่านายกฯ ประสงค์ที่จะแก้ปัญหาโดยการพูดคุยกันอย่างสันติวิธี และขอให้นายสุเทพ หยุดทำร้ายประเทศไทย การพูดคุยกันมิได้เปลี่ยนแปลงสถานะนายสุเทพ จากผู้ต้องหาคดีอาญาที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นที่ชัดเจนต่อมาว่านายสุเทพ ยังประสงค์ที่เดินหน้ากระทำความผิดอาญาโดยการใช้กำลังล้มรัฐบาลต่อไป
อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยยืนยันว่า จะขอสนับสนุนแนวทางการทำงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะการไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม เพื่อพิทักษ์กฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มั่นคงสืบไป