นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำหลักการชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ยืนยันจุดยืนเดิมที่เคยประกาศไว้เมื่อ 2 วันก่อน ที่กำหนดเส้นตายให้รัฐบาลต้องทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้พ้นจากวาระการประชุมของสภาฯ ภายในเวลา 18.00 น.ของวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยจะไม่มีการเจรจากับรัฐบาลอีก และยืนยันว่า จุดยืนการชุมนุมยังคงเป็นการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเท่านั้น
เช่นเดียวกับแกนนำคนอื่นๆ ที่ยังคงย้ำจุดยืนเดิมของผู้ชุมนุม ที่จะรอคำตอบจากรัฐบาลจนถึงช่วงค่ำของวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่จะต้องทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปจากวาระการประชุมของสภา แม้ว่าก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยจะแถลงยืนยันว่าจะไม่นำร่างกฎหมายฉบับนี้กลับมาพิจารณาอีกก็ตาม
นอกจากนี้ ระบุด้วยว่า ไม่ขัดข้องอะไรหากพรรคเพื่อไทยจะไม่รับข้อเรียกร้อง 1 ข้อ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แต่สามารถทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปจากวาระการประชุมได้ ซึ่งข้อเสนอ 2 ข้อดังกล่าว ประกอบด้วย ให้ตีความให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายการเงิน หากนายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับกฎหมายก็จะตกไป หรือให้วุฒิสภารับร่างกฎหมาย และตั้งกรรมาธิการเต็มสภาแก้คืนให้เป็นร่างเดิมของนายวรชัย เหมะ
ส่วนที่รัฐบาลออกมาประกาศก่อนหน้านี้ว่า ขอให้ทุกกลุ่มยุติการชุมนุม หลังสภาผู้แทนราษฎรมีมติถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมไปแล้วนั้น แกนนำระบุว่า ไม่มีผลอะไร เพราะร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หรือปรองดอง ในวาระสภาฯ ขณะนี้มี 7 ฉบับ แต่ที่สภาฯ ถอนมี 6 ฉบับ คือ ปรองดอง 4 ฉบับ นิรโทษกรรม 2 ฉบับ ส่วนฉบับที่เป็นปัญหาคือฉบับที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้อำนาจการถอนไม่ได้อยู่ที่พรรคเพื่อไทยแล้ว เนื่องจากผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปจนถึงวุฒิสภาแล้ว ซึ่งหากวุฒิสภาไม่รับหลักการร่างฉบับนี้ก็จะถูกพักไว้ก่อน 180 วัน แต่หลังจากผ่าน 180 วันไปแล้ว สามารถหยิบขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ ทางแกนนำจึงยังไม่ไว้ใจท่าทีของรัฐบาลขณะนี้
เช่นเดียวกับแกนนำคนอื่นๆ ที่ยังคงย้ำจุดยืนเดิมของผู้ชุมนุม ที่จะรอคำตอบจากรัฐบาลจนถึงช่วงค่ำของวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่จะต้องทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปจากวาระการประชุมของสภา แม้ว่าก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยจะแถลงยืนยันว่าจะไม่นำร่างกฎหมายฉบับนี้กลับมาพิจารณาอีกก็ตาม
นอกจากนี้ ระบุด้วยว่า ไม่ขัดข้องอะไรหากพรรคเพื่อไทยจะไม่รับข้อเรียกร้อง 1 ข้อ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แต่สามารถทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปจากวาระการประชุมได้ ซึ่งข้อเสนอ 2 ข้อดังกล่าว ประกอบด้วย ให้ตีความให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายการเงิน หากนายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับกฎหมายก็จะตกไป หรือให้วุฒิสภารับร่างกฎหมาย และตั้งกรรมาธิการเต็มสภาแก้คืนให้เป็นร่างเดิมของนายวรชัย เหมะ
ส่วนที่รัฐบาลออกมาประกาศก่อนหน้านี้ว่า ขอให้ทุกกลุ่มยุติการชุมนุม หลังสภาผู้แทนราษฎรมีมติถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมไปแล้วนั้น แกนนำระบุว่า ไม่มีผลอะไร เพราะร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หรือปรองดอง ในวาระสภาฯ ขณะนี้มี 7 ฉบับ แต่ที่สภาฯ ถอนมี 6 ฉบับ คือ ปรองดอง 4 ฉบับ นิรโทษกรรม 2 ฉบับ ส่วนฉบับที่เป็นปัญหาคือฉบับที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้อำนาจการถอนไม่ได้อยู่ที่พรรคเพื่อไทยแล้ว เนื่องจากผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปจนถึงวุฒิสภาแล้ว ซึ่งหากวุฒิสภาไม่รับหลักการร่างฉบับนี้ก็จะถูกพักไว้ก่อน 180 วัน แต่หลังจากผ่าน 180 วันไปแล้ว สามารถหยิบขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ ทางแกนนำจึงยังไม่ไว้ใจท่าทีของรัฐบาลขณะนี้