คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ จัดเสวนาทางวิชาการหัวข้อ "คำพิพากษาคดีตีความ-สังคมไทยควรรับมืออย่างไร" ซึ่งมีทั้งนักกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ศาลจะรับตีความหรือว่าไม่รับ แต่หากมีคำตัดสินใดออกมาในเรื่องเขตแดน 1 : 2 แสนนั้น โดยเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ระบุว่า ตรงนี้มั่นใจได้ว่า แผนที่นั้นกัมพูชาทำปลอมขึ้นมา
ด้านนักกฎหมาย เห็นว่ารัฐบาลไทยยังไม่จำเป็นต้องออกมาทำอะไรตามคำพิพากษา หรือว่ารีบออกมาประกาศว่า จะทำตามคำสั่งของศาล รวมทั้งให้นำคำพิพากษามาศึกษามติอย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ มีกรณีที่ประเทศอื่นๆ ที่ศาลโลกตัดสินข้อพิพาทมี 4 คดีที่ประเทศนั้นๆ นำคำพิพากษากลับมาตีความ และศึกษาข้อดีข้อเสียในคำพิพากษา และรัฐบาลต้องชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจ รวมถึงต้องมีการเชิญนักวิชาการ และภาคสังคมทั่วไปเข้ามาตัดสินร่วมกัน พร้อมเสนอให้รัฐบาลทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ด้านนักกฎหมาย เห็นว่ารัฐบาลไทยยังไม่จำเป็นต้องออกมาทำอะไรตามคำพิพากษา หรือว่ารีบออกมาประกาศว่า จะทำตามคำสั่งของศาล รวมทั้งให้นำคำพิพากษามาศึกษามติอย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ มีกรณีที่ประเทศอื่นๆ ที่ศาลโลกตัดสินข้อพิพาทมี 4 คดีที่ประเทศนั้นๆ นำคำพิพากษากลับมาตีความ และศึกษาข้อดีข้อเสียในคำพิพากษา และรัฐบาลต้องชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจ รวมถึงต้องมีการเชิญนักวิชาการ และภาคสังคมทั่วไปเข้ามาตัดสินร่วมกัน พร้อมเสนอให้รัฐบาลทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย