พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และบูรณาการแผนงานโครงการของส่วนราชการที่จัดการศึกษาในระบบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต. นายปรีชา เวชศาสตร์ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและกีฬา ศอ.บต. พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สมพ.) สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุม
เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การสร้างคนให้เป็นคนดี มีความรู้ มีคุณธรรมต้องเริ่มจากต้นปลูกฝังด้วยการศึกษา ในขณะเดียวกัน หน้าที่หลักของครู คือทำคนให้เป็นคนดี รวมถึงสร้างสังคมให้เกิดความสันติสุข ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษาสูงมาก แต่รูปแบบของการจัดการศึกษาในปัจจุบันยังไม่ค่อยสอดคล้องกับเด็กนักเรียนในพื้นที่ เพราะประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันด้วยภาษามลายูถิ่น จึงทำให้เด็กในพื้นที่ไม่สามารถทำความเข้าใจภาษาไทยได้อย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนภาษาไทย ควบคู่ภาษามลายู ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กได้ทำความเข้าใจเนื้อหาในชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ อยากให้การศึกษามีการพัฒนาคนให้เป็นคนดี ให้มีความรู้ทางโลก และจริยธรรม โดยใช้ต้นทุน และมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งทางรัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการให้มีการส่งเสริมทางด้านการศึกษา ศาสนา ภาษาศิลปะ พหุวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อต้องการพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีความเจริญงอกงามทางความรู้ มีคุณธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้นักเรียนเกิดความเข้มแข็งทางด้านการศึกษา และนำความรู้กลับพัฒนาบ้านเกิดและนำสันติสุขอย่างยั่งยืนกลับมาในพื้นที่
เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การสร้างคนให้เป็นคนดี มีความรู้ มีคุณธรรมต้องเริ่มจากต้นปลูกฝังด้วยการศึกษา ในขณะเดียวกัน หน้าที่หลักของครู คือทำคนให้เป็นคนดี รวมถึงสร้างสังคมให้เกิดความสันติสุข ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษาสูงมาก แต่รูปแบบของการจัดการศึกษาในปัจจุบันยังไม่ค่อยสอดคล้องกับเด็กนักเรียนในพื้นที่ เพราะประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันด้วยภาษามลายูถิ่น จึงทำให้เด็กในพื้นที่ไม่สามารถทำความเข้าใจภาษาไทยได้อย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนภาษาไทย ควบคู่ภาษามลายู ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กได้ทำความเข้าใจเนื้อหาในชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ อยากให้การศึกษามีการพัฒนาคนให้เป็นคนดี ให้มีความรู้ทางโลก และจริยธรรม โดยใช้ต้นทุน และมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งทางรัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการให้มีการส่งเสริมทางด้านการศึกษา ศาสนา ภาษาศิลปะ พหุวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อต้องการพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีความเจริญงอกงามทางความรู้ มีคุณธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้นักเรียนเกิดความเข้มแข็งทางด้านการศึกษา และนำความรู้กลับพัฒนาบ้านเกิดและนำสันติสุขอย่างยั่งยืนกลับมาในพื้นที่