ผศ.นงนุช สุนทรชวกานต์ นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนาวิชาการผลกระทบของการขยายอายุการทำงานของผู้สูงวัยทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จัดโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อผู้สูงอายุไทยว่า จากการศึกษาพบว่า ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มลดลง จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากร ส่วนหนึ่งออกจากกำลังแรงงานตั้งแต่อายุ 50 ปี ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดอายุเกษียณอายุลูกจ้างภาคเอกชน ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ว่านายจ้างยึดการรับสิทธิประโยชน์ทดแทนชราภาพของกองทุนประกันสังคมที่อายุ 50 ปีบริบูรณ์ เมื่อครบกำหนดอายุลูกจ้างต้องออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง ทั้งที่ยังมีศักยภาพการทำงาน ซึ่งจากการสำรวจความเห็นลูกจ้างวัยใกล้เกษียณพบว่า ต้องการทำงานต่อ เพราะมีศักยภาพทำงานได้ ขณะที่นายจ้างส่วนหนึ่งต้องการจ้างงานต่อ เพราะบางลักษณะงานต้องอาศัยประสบการณ์ แต่บางส่วนมองเรื่องความคุ้มค่าต่อผลิตภาพแรงงานมากกว่า
ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่า การขยายอายุเกษียณลูกจ้างควรเป็นความพร้อมใจระหว่างนายจ้าง และแรงงาน รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้มีการจ้างงานต่อ ควรดูแลด้านสวัสดิการเพื่อดูแลสุขภาพให้ลูกจ้างตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพิ่มสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล
นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการจูงใจนายจ้างให้จ้างผู้สูงอายุมากกว่าบังคับ เช่น นโยบายลดหย่อนภาษีแก่นายจ้าง ที่จ้างแรงงานสูงอายุ และจ้างผู้สูงอายุมาทดแทนการจ้างงานคนพิการ
ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่า การขยายอายุเกษียณลูกจ้างควรเป็นความพร้อมใจระหว่างนายจ้าง และแรงงาน รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้มีการจ้างงานต่อ ควรดูแลด้านสวัสดิการเพื่อดูแลสุขภาพให้ลูกจ้างตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพิ่มสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล
นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการจูงใจนายจ้างให้จ้างผู้สูงอายุมากกว่าบังคับ เช่น นโยบายลดหย่อนภาษีแก่นายจ้าง ที่จ้างแรงงานสูงอายุ และจ้างผู้สูงอายุมาทดแทนการจ้างงานคนพิการ