รศ.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนาวิชาการเรื่อง "มโนทัศน์ใหม่ของผู้สูงอายุ เรื่องการขยายอายุการทำงาน บทเรียนจากต่างประเทศ และบริบทสำหรับสังคมไทย" โดยนำเสนองานวิจัยผลกระทบการขยายอายุเกษียณ เนื่องจากในอนาคต จำนวนประชากรแรงงานมีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งภาคแรงงานจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานมากขึ้น จึงมีข้อเสนอในการขยายอายุเกษียณภาครัฐ จากอายุ 60 ปี เป็น 65 ปี และยืดอายุการทำงานของลูกจ้างเอกชนต่อเนื่องจากอายุ 50 ปีไปเรื่อยๆ
โดยงานวิจัยผลกระทบจากการขยายอายุการทำงาน พบว่าลูกจ้างจะมีรายได้จากสวัสดิการภาครัฐเพิ่มขึ้น ส่วนเอกชนเฉลี่ยแล้วจะมีรายได้ และสวัสดิการสูงกว่าการเกษียณอายุที่ 50 ปี
เวทีเสวนายังเสนอบทเรียนจากต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่เริ่มดำเนินนโยบายขยายอายุการทำงาน เช่น ในประเทศสิงคโปร์ทำได้ผลดี เนื่องจากประชากรน้อย การปรับนโยบายจึงประสบความสำเร็จ ขณะที่อีกหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เกาหลี ญี่ปุ่น ยังไม่ทำเต็มรูปแบบ แต่ได้เตรียมการมาแล้วกว่า 10 ปี ส่วนที่ฝรั่งเศสมีนโยบายนี้เช่นกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นนโยบายทางการเมือง จึงไม่สามารถผลักดันให้เป็นรูปธรรมได้
นอกจากนั้น ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อรัฐบาลและภาคเอกชนต่อไป
โดยงานวิจัยผลกระทบจากการขยายอายุการทำงาน พบว่าลูกจ้างจะมีรายได้จากสวัสดิการภาครัฐเพิ่มขึ้น ส่วนเอกชนเฉลี่ยแล้วจะมีรายได้ และสวัสดิการสูงกว่าการเกษียณอายุที่ 50 ปี
เวทีเสวนายังเสนอบทเรียนจากต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่เริ่มดำเนินนโยบายขยายอายุการทำงาน เช่น ในประเทศสิงคโปร์ทำได้ผลดี เนื่องจากประชากรน้อย การปรับนโยบายจึงประสบความสำเร็จ ขณะที่อีกหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เกาหลี ญี่ปุ่น ยังไม่ทำเต็มรูปแบบ แต่ได้เตรียมการมาแล้วกว่า 10 ปี ส่วนที่ฝรั่งเศสมีนโยบายนี้เช่นกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นนโยบายทางการเมือง จึงไม่สามารถผลักดันให้เป็นรูปธรรมได้
นอกจากนั้น ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อรัฐบาลและภาคเอกชนต่อไป