เหล่าคนงานสิ่งทอบังกลาเทศซึ่งอยู่ในอารมณ์เดือดดาล ปิดกั้นถนน จุดไฟเผาโรงงานและปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นวันที่ 3 ในวันจันทร์(23) ในการประท้วงเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำเดือนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว 3,100 บาท) ที่ลุกลามอยู่รอบนอกของเมืองหลวง
อับดุล บาเตน ผู้บังคับการตำรวจของเขตอุตสาหกรรมกาซิปูร์ ใกล้กรุงธากา อันเป็นที่ตั้งของโรงงานหลายร้อยแห่งบอกกับเอเอฟพีว่ามีคนงานมากกว่า 20,000 คนเข้าร่วมชุมนุมหนล่าสุดนี้
ส่วนมุสตาฟิซูร์ ราห์มาน ผู้ช่วยของ บาเตน เสริมว่ามีโรงงานราว 300 แห่ง ซึ่งผลิตเสื้อผ้าป้อนแก่บริษัทค้าปลีกของชาติตะวันตก อาทิวอลมาร์ต ต้องปิดดำเนินการในวันจันทร์(23) ในความพยายามควบคุมเหตุรุนแรง ขณะเหล่าคนงานผู้ประท้วงยังคงเดินหน้าโจมตีโรงงานต่างๆ
"สถานการณ์ผันผวนมาก ตำรวจยิงกระสุนยางและแก๊สน้ำตาเข้าสลายคนงานผู้ดื้อด้าน พวกคนงานพากันใช้ก้อนหินขวางปาโรงงานหลายสิบแห่ง" เขากล่าว พร้อมเสริมว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคนในนั้นมีทั้งพวกคนงานและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เหล่าโรงงานต่างๆระบุว่าการประท้วงในวันจันทร์(23) นับเป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดของภาคอุตสาหกรรมนี้นับตั้งแต่ปี 2010 โดยคราวนั้นก็เกิดการประท้วงรุนแรงต่อเนื่องหลายเดือน จนสุดท้ายรัฐบาลและเจ้าของโรงงานต้องยินยอมเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นเดือนละ 38 ดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว1,170บาท)
คนงานสิ่งทอบังกลาเทศเป็นหนึ่งในบรรดาลูกค้าของภาคอุตสาหกรรมนี้ที่ได้ค่าแรงน้อยที่สุดในโลก โดยพวกเขาต้องทำงานหนักสัปดาห์ละ 80 ชั่งโมงในโรงงานที่ขาดมาตรฐานเสี่ยงต่อเหตุไฟไหม้และอุบัติเหตุอื่นๆ
อับดุล บาเตน ผู้บังคับการตำรวจของเขตอุตสาหกรรมกาซิปูร์ ใกล้กรุงธากา อันเป็นที่ตั้งของโรงงานหลายร้อยแห่งบอกกับเอเอฟพีว่ามีคนงานมากกว่า 20,000 คนเข้าร่วมชุมนุมหนล่าสุดนี้
ส่วนมุสตาฟิซูร์ ราห์มาน ผู้ช่วยของ บาเตน เสริมว่ามีโรงงานราว 300 แห่ง ซึ่งผลิตเสื้อผ้าป้อนแก่บริษัทค้าปลีกของชาติตะวันตก อาทิวอลมาร์ต ต้องปิดดำเนินการในวันจันทร์(23) ในความพยายามควบคุมเหตุรุนแรง ขณะเหล่าคนงานผู้ประท้วงยังคงเดินหน้าโจมตีโรงงานต่างๆ
"สถานการณ์ผันผวนมาก ตำรวจยิงกระสุนยางและแก๊สน้ำตาเข้าสลายคนงานผู้ดื้อด้าน พวกคนงานพากันใช้ก้อนหินขวางปาโรงงานหลายสิบแห่ง" เขากล่าว พร้อมเสริมว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคนในนั้นมีทั้งพวกคนงานและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เหล่าโรงงานต่างๆระบุว่าการประท้วงในวันจันทร์(23) นับเป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดของภาคอุตสาหกรรมนี้นับตั้งแต่ปี 2010 โดยคราวนั้นก็เกิดการประท้วงรุนแรงต่อเนื่องหลายเดือน จนสุดท้ายรัฐบาลและเจ้าของโรงงานต้องยินยอมเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นเดือนละ 38 ดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว1,170บาท)
คนงานสิ่งทอบังกลาเทศเป็นหนึ่งในบรรดาลูกค้าของภาคอุตสาหกรรมนี้ที่ได้ค่าแรงน้อยที่สุดในโลก โดยพวกเขาต้องทำงานหนักสัปดาห์ละ 80 ชั่งโมงในโรงงานที่ขาดมาตรฐานเสี่ยงต่อเหตุไฟไหม้และอุบัติเหตุอื่นๆ