อังเกลา แมร์เคิล เผชิญความท้าทายสำคัญในการชักชวนคู่แข่งพรรคกลาง-ซ้ายมาร่วมฟอร์มรัฐบาล ภายหลังพรรคอนุรักษ์นิยมของเธอเก็บชัยชนะยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 2 ทศวรรษ และส่งให้แมร์เคิลกลายเป็นผู้นำทรงอิทธิพลที่สุดของยุโรป
แม้แต่ศัตรูทางการเมืองยังยอมรับว่า แมร์เคิล ว่าที่นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ของเยอรมนี เป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศนับจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนระเบิดขึ้นในปี 2010
พรรคคริสเตียน เดโมเครติค ยูเนียน (ซีดียู) ของแมร์เคิล และพรรคคริสเตียน โซเชียล ยูเนียน (ซีเอสยู) ซึ่งเป็นพรรคพี่พรรคน้องกับซีดียู กวาดคะแนนทั้งสิ้น 41.5% สูงสุดนับจากปี 1990 และขาดเพียง 5 ที่นั่งในการครองเสียงข้างมากเด็ดขาดครั้งแรกในสภาล่าง หรือบุนเดสแท็ก ในรอบครึ่งศตวรรษ
ขณะที่พรรคโซเชียล เดโมแครต (เอสพีดี) ที่แมร์เคิลเคยดึงมาร่วมรัฐบาลในสมัยแรกระหว่างปี 2005-2009 นั้น ได้คะแนน 25.7% ดีขึ้นกว่าผลงานเลวร้ายที่สุดในยุคหลังสงครามนั่นคือในครั้งการเลือกตั้งปี 2009 เพียงเล็กน้อย
โพลที่ออกมาบ่งชี้ว่า คนเยอรมันต้องการรัฐบาลที่เป็นการจับมือกันระหว่างพวกกลาง-ขวา กับกลาง-ซ้าย เช่นเดียวกับพันธมิตรในยุโรปของเบอร์ลินที่หวังว่า เอสพีดีอาจทำให้แนวทางของแมร์เคิลที่มุ่งเน้นการรัดเข็มขัดสำหรับสมาชิกยูโรโซนที่มีปัญหาผ่อนคลายลงบ้าง
หากเอสพีดีไม่ยอมเจรจาด้วย แมร์เคิลอาจหันไปหาพรรคกรีนส์แทน แต่ก็เช่นเดียวกัน เพราะรีเนต คูนาสต์ สมาชิกระดับนำของพรรคสิ่งแวดล้อมรายนี้บอกว่า นึกภาพไม่ออกว่า กรีนส์จะร่วมรัฐบาลกับแมร์เคิลได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน พรรคอัลเทอร์เนทีฟ ฟอร์ เยอรมนี (เอเอฟดี) ที่เคลือบแคลงในแนวทางเงินสกุลเดียวและได้เข้าสู่สภาครั้งแรก ประกอบกับกระแสต่อต้านการอุ้มสมาชิกขี้โรคในยูโรโซน อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับยุโรปของแมร์เคิล
แม้แต่ศัตรูทางการเมืองยังยอมรับว่า แมร์เคิล ว่าที่นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ของเยอรมนี เป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศนับจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนระเบิดขึ้นในปี 2010
พรรคคริสเตียน เดโมเครติค ยูเนียน (ซีดียู) ของแมร์เคิล และพรรคคริสเตียน โซเชียล ยูเนียน (ซีเอสยู) ซึ่งเป็นพรรคพี่พรรคน้องกับซีดียู กวาดคะแนนทั้งสิ้น 41.5% สูงสุดนับจากปี 1990 และขาดเพียง 5 ที่นั่งในการครองเสียงข้างมากเด็ดขาดครั้งแรกในสภาล่าง หรือบุนเดสแท็ก ในรอบครึ่งศตวรรษ
ขณะที่พรรคโซเชียล เดโมแครต (เอสพีดี) ที่แมร์เคิลเคยดึงมาร่วมรัฐบาลในสมัยแรกระหว่างปี 2005-2009 นั้น ได้คะแนน 25.7% ดีขึ้นกว่าผลงานเลวร้ายที่สุดในยุคหลังสงครามนั่นคือในครั้งการเลือกตั้งปี 2009 เพียงเล็กน้อย
โพลที่ออกมาบ่งชี้ว่า คนเยอรมันต้องการรัฐบาลที่เป็นการจับมือกันระหว่างพวกกลาง-ขวา กับกลาง-ซ้าย เช่นเดียวกับพันธมิตรในยุโรปของเบอร์ลินที่หวังว่า เอสพีดีอาจทำให้แนวทางของแมร์เคิลที่มุ่งเน้นการรัดเข็มขัดสำหรับสมาชิกยูโรโซนที่มีปัญหาผ่อนคลายลงบ้าง
หากเอสพีดีไม่ยอมเจรจาด้วย แมร์เคิลอาจหันไปหาพรรคกรีนส์แทน แต่ก็เช่นเดียวกัน เพราะรีเนต คูนาสต์ สมาชิกระดับนำของพรรคสิ่งแวดล้อมรายนี้บอกว่า นึกภาพไม่ออกว่า กรีนส์จะร่วมรัฐบาลกับแมร์เคิลได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน พรรคอัลเทอร์เนทีฟ ฟอร์ เยอรมนี (เอเอฟดี) ที่เคลือบแคลงในแนวทางเงินสกุลเดียวและได้เข้าสู่สภาครั้งแรก ประกอบกับกระแสต่อต้านการอุ้มสมาชิกขี้โรคในยูโรโซน อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับยุโรปของแมร์เคิล