กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดการประชุมปฏิบัติการ "รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา" สู่การปฏิบัติ เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน ได้แก่ สภาพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมรับฟังความเห็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้เปิดเวทีครั้งแรกเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความเห็นจากระดับผู้บริหารของหน่วยงานทางด้านการศึกษา นักวิชาการ และนักการศึกษา
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่า อยากให้กระทรวงศึกษาธิการปรับเรื่องการประกันคุณภาพระดับประถมศึกษา ดังนั้น ในนโยบาย 8 ข้อ ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร คิดให้ตรงจุด อย่าไปคิดเรื่องตามหลัง เรื่องชั้นประถมฯ ตามหลัง ลาว กัมพูชา ซึ่งหลักสูตรใหม่นี้จะต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง สอนแบบให้เด็กคิดได้เร็วมากกว่าเรา
นายอาคม กล่าวว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถด้านการจัดการ ระบบการศึกษา วิจัยและพัฒนา แต่จุดอ่อนเวลานี้คือระบบการศึกษา เราจะพูดถึงระบบการศึกษาในระบบ เพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องศึกษาวิจัยให้เห็นผล เช่นกรณีสาขาการแพทย์ ซึ่งเรียนในตำรา และปฏิบัติในโรงพยาบาล แล้วนำผลการตรวจเข้าศึกษาห้องวิจัย จึงทำให้แพทย์ไทยเก่ง ดังนั้น สาขาอื่นจึงต้องดูว่าทำไมโครงสร้างประชากรเปลี่ยน หรือขาดแคลน
นอกจากนี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาท ต้องร่วมกับภาคเอกชน และนำผลงานทางการศึกษาไปสนับสนุนภาคเอกชน และร่วมมือในการผลิตกำลังคน ที่คนไม่เรียนสายอาชีวะหรือสายช่าง เพราะมีค่านิยมว่าจบปริญญาตรีเป็นระดับผู้บริหาร และการเข้าทำงานกับเอกชนก็ได้เงินเดือนจริงที่ 13,000 บาท ไม่ใช่ 15,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ผู้ปกครองหรือเด็กมักมีความนิยมเข้าเรียนสายช่าง เพราะได้รับการยอมรับ และได้เงินเดือนสูง มีก้าวหน้ากว่า แต่คนไทยมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่จบอาชีวะ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่า อยากให้กระทรวงศึกษาธิการปรับเรื่องการประกันคุณภาพระดับประถมศึกษา ดังนั้น ในนโยบาย 8 ข้อ ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร คิดให้ตรงจุด อย่าไปคิดเรื่องตามหลัง เรื่องชั้นประถมฯ ตามหลัง ลาว กัมพูชา ซึ่งหลักสูตรใหม่นี้จะต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง สอนแบบให้เด็กคิดได้เร็วมากกว่าเรา
นายอาคม กล่าวว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถด้านการจัดการ ระบบการศึกษา วิจัยและพัฒนา แต่จุดอ่อนเวลานี้คือระบบการศึกษา เราจะพูดถึงระบบการศึกษาในระบบ เพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องศึกษาวิจัยให้เห็นผล เช่นกรณีสาขาการแพทย์ ซึ่งเรียนในตำรา และปฏิบัติในโรงพยาบาล แล้วนำผลการตรวจเข้าศึกษาห้องวิจัย จึงทำให้แพทย์ไทยเก่ง ดังนั้น สาขาอื่นจึงต้องดูว่าทำไมโครงสร้างประชากรเปลี่ยน หรือขาดแคลน
นอกจากนี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาท ต้องร่วมกับภาคเอกชน และนำผลงานทางการศึกษาไปสนับสนุนภาคเอกชน และร่วมมือในการผลิตกำลังคน ที่คนไม่เรียนสายอาชีวะหรือสายช่าง เพราะมีค่านิยมว่าจบปริญญาตรีเป็นระดับผู้บริหาร และการเข้าทำงานกับเอกชนก็ได้เงินเดือนจริงที่ 13,000 บาท ไม่ใช่ 15,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ผู้ปกครองหรือเด็กมักมีความนิยมเข้าเรียนสายช่าง เพราะได้รับการยอมรับ และได้เงินเดือนสูง มีก้าวหน้ากว่า แต่คนไทยมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่จบอาชีวะ