นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เปิดเผยว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นตกลงว่า ในวันที่ 19-20 กันยายน จะเริ่มประชุมในเวลา 09.30 น. และเลิกประชุม 21.30 น. ส่วนเวลาจะเพียงพอหรือไม่นั้นไม่สามารถบอกได้ ขึ้นอยู่กับผู้แปรญัตติ และสงวนแปรญัตติ ว่าประสงค์จะอภิปรายมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ มีการแจ้งความจำนงจะอภิปรายมา 50 กว่าคน ใน 18 มาตรา โดยกรอบการอภิปรายจะมี 4 ส่วนด้วยกัน ที่จะชี้ให้ประชาชนได้เห็น คือ เรื่องวินัยการเงินการคลัง ที่ฝ่ายค้านขัดข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำด้านคมนาคมอย่างเดียว สามารารถทำเนินการด้านการศึกษา สาธารณสุข ด้วย และไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพียงอย่างเดียว สามารถใช้วิธีอื่น เช่นการร่วมทุน ที่จะลดภาระหนี้ได้
ประการที่ 2 คือ ความไม่พร้อมของโครงการที่จะชี้ให้เห็นว่า บางโครงการตอบสนองโจทย์ทางการเมืองมากว่าตอบโจทย์ของประเทศ และหลายโครงการยังไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อน ประการที่ 3 คือความไม่ชอบมาพากลของโครงการ เช่น ราคาการก่อสร้าง รถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ก่อนหน้านี้มีการศึกษา ราคาก่อสร้างอยู่ที่ กิโลเมตรละ 300 กว่าล้านบาท แต่ในโครงการนี้ กลายเป็น 600 กว่าล้าน และการจัดซื้อจัดจ้างก็มีการเตรียมใช้วิธีพิเศษ
ทั้งนี้ เกรงว่าอาจจะนำไปสู่การทุจริตได้ รวมถึงการซ้ำซ้อนของโครงการที่มีโครงการอยู่ในงบประมาณรายจ่ายปกติ แต่ก็อยู่ใน พ.ร.บ.นี้อีกด้วย และสุดท้าย คือกรอบกฎหมายที่เห็นว่าการ กู้เงินนี้ถือเป็นเงินของแผ่นดิน จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับ งบประมาณ 4 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เคยให้ความเห็นไว้ หากไม่นำไปใช้ ตาม พ.ร.บ.ทั้งสี่ฉบับนี้ อาจจะผิดกฎหมายได้
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเป็นห่วงว่าจะมีการอภิปรายซ้ำซ้อนและตีรวนนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า หากอภิปรายซ้ำซ้อน ประธานก็สามารถดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านไม่มีความประสงค์ที่จะตีรวน แต่ต้องได้สิทธิ์ในการชี้แจงเหตุผล โดยไม่ถูกตัดสิทธิ์ หรือใช้เสี่ยงข้างมากปิดการอภิปราย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จะไม่ให้ฝ่ายที่เห็นแย้งแสดงเหตุผลเลยไม่ได้ ก็เกรงว่าจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกับการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ก็ขอบอกว่าไม่ควรที่จะทำเช่นนั้น เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ มีการแจ้งความจำนงจะอภิปรายมา 50 กว่าคน ใน 18 มาตรา โดยกรอบการอภิปรายจะมี 4 ส่วนด้วยกัน ที่จะชี้ให้ประชาชนได้เห็น คือ เรื่องวินัยการเงินการคลัง ที่ฝ่ายค้านขัดข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำด้านคมนาคมอย่างเดียว สามารารถทำเนินการด้านการศึกษา สาธารณสุข ด้วย และไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพียงอย่างเดียว สามารถใช้วิธีอื่น เช่นการร่วมทุน ที่จะลดภาระหนี้ได้
ประการที่ 2 คือ ความไม่พร้อมของโครงการที่จะชี้ให้เห็นว่า บางโครงการตอบสนองโจทย์ทางการเมืองมากว่าตอบโจทย์ของประเทศ และหลายโครงการยังไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อน ประการที่ 3 คือความไม่ชอบมาพากลของโครงการ เช่น ราคาการก่อสร้าง รถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ก่อนหน้านี้มีการศึกษา ราคาก่อสร้างอยู่ที่ กิโลเมตรละ 300 กว่าล้านบาท แต่ในโครงการนี้ กลายเป็น 600 กว่าล้าน และการจัดซื้อจัดจ้างก็มีการเตรียมใช้วิธีพิเศษ
ทั้งนี้ เกรงว่าอาจจะนำไปสู่การทุจริตได้ รวมถึงการซ้ำซ้อนของโครงการที่มีโครงการอยู่ในงบประมาณรายจ่ายปกติ แต่ก็อยู่ใน พ.ร.บ.นี้อีกด้วย และสุดท้าย คือกรอบกฎหมายที่เห็นว่าการ กู้เงินนี้ถือเป็นเงินของแผ่นดิน จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับ งบประมาณ 4 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เคยให้ความเห็นไว้ หากไม่นำไปใช้ ตาม พ.ร.บ.ทั้งสี่ฉบับนี้ อาจจะผิดกฎหมายได้
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเป็นห่วงว่าจะมีการอภิปรายซ้ำซ้อนและตีรวนนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า หากอภิปรายซ้ำซ้อน ประธานก็สามารถดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านไม่มีความประสงค์ที่จะตีรวน แต่ต้องได้สิทธิ์ในการชี้แจงเหตุผล โดยไม่ถูกตัดสิทธิ์ หรือใช้เสี่ยงข้างมากปิดการอภิปราย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จะไม่ให้ฝ่ายที่เห็นแย้งแสดงเหตุผลเลยไม่ได้ ก็เกรงว่าจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกับการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ก็ขอบอกว่าไม่ควรที่จะทำเช่นนั้น เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ