นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงว่า สำนักงาน กกต.มีหนังสือแจ้งเกี่ยวกับการหมดวาระการดำรงตำแหน่งของ กกต.ชุดปัจจุบันในวันที่ 19 กันยายนนี้ ไปยังสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้เตรียมเรื่องการสรรหาแล้ว และทางสำนักงาน กกต.ก็ได้นำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุม กกต.เมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ภายหลังการครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดยที่ประชุมเห็นว่า กกต.ยังคงมีอำนาจหน้าที่เต็มตามรัฐธรรมนูญมาตรา 232 วรรคสอง ที่ระบุว่า กกต.ที่พ้นตำแหน่งตามวาระต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า กกต.ชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ไม่ถือเป็นการรักษาการในตำแหน่ง
ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.หลังจากครบวาระในเรื่องของการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น การพิจารณารับรองผล พิจารณาคำร้องคัดค้านต่างๆ จึงเป็นไปตามปกติ ไม่มีปัญหา เว้นแต่เรื่องที่จะมีผลผูกพันต่อ กกต.ชุดใหม่ เช่น เรื่องของการปรับโครงสร้างสำนักงาน การแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากร หรือการเพิ่มตำแหน่งต่างๆ ซึ่ง กกต.ได้ให้เป็นนโยบายไว้ว่าขอให้เป็นหน้าที่ของกกต.ชุดใหม่
นายภุชงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับการสรรหา กกต.ชุดใหม่ ทราบจากทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ว่าได้มีการเตรียมเรียกประชุมคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 231(1) นัดแรกในวันที่ 20 กันยายนนี้ เพื่อกำหนดกรอบเวลาในการสรรหาที่กฎหมายกำหนดว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมการสรรหาดังกล่าวจะประกอบไปด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งทราบว่าเป็นนายกู้เกียรติ สุนทรบุระ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญากรุงเทพใต้ และผู้แทนจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด คือนายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด
ส่วนการเปิดรับสมัครเบื้องต้นทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภากำหนดไว้ในวันที่ 23-30 กันยายน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และคณะกรรมการสรรหาจะมีการประชุมเพื่อลงมติคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือ 3 คน ในวันที่ 17 ตุลาคม ก่อนที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาจะเสนอนำไปรวมกับ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.จากสายที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบต่อไป
ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.หลังจากครบวาระในเรื่องของการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น การพิจารณารับรองผล พิจารณาคำร้องคัดค้านต่างๆ จึงเป็นไปตามปกติ ไม่มีปัญหา เว้นแต่เรื่องที่จะมีผลผูกพันต่อ กกต.ชุดใหม่ เช่น เรื่องของการปรับโครงสร้างสำนักงาน การแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากร หรือการเพิ่มตำแหน่งต่างๆ ซึ่ง กกต.ได้ให้เป็นนโยบายไว้ว่าขอให้เป็นหน้าที่ของกกต.ชุดใหม่
นายภุชงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับการสรรหา กกต.ชุดใหม่ ทราบจากทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ว่าได้มีการเตรียมเรียกประชุมคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 231(1) นัดแรกในวันที่ 20 กันยายนนี้ เพื่อกำหนดกรอบเวลาในการสรรหาที่กฎหมายกำหนดว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมการสรรหาดังกล่าวจะประกอบไปด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งทราบว่าเป็นนายกู้เกียรติ สุนทรบุระ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญากรุงเทพใต้ และผู้แทนจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด คือนายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด
ส่วนการเปิดรับสมัครเบื้องต้นทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภากำหนดไว้ในวันที่ 23-30 กันยายน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และคณะกรรมการสรรหาจะมีการประชุมเพื่อลงมติคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือ 3 คน ในวันที่ 17 ตุลาคม ก่อนที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาจะเสนอนำไปรวมกับ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.จากสายที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบต่อไป