ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 10 คน และนิติบุคคลอีก 1 ราย ภายหลังตกเป็นผู้ต้องหา ฐานร่วมกันประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค (กิจการรถไฟ) โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นความผิดตามประกาศ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 ข้อ 4 และข้อ 16 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 84 และมาตรา 86 โดยอัยการได้เลื่อนสั่งคดีเป็นวันที่ 10 กันยายน 2556
โดยในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดนัดหมาย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ส่งนายสัญญา จันทรัตน์ ที่ปรึกษา พร้อมกับทีมทนาย เข้าพบอัยการ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 สำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องจากตนติดภารกิจอยู่ที่ต่างประเทศ โดยผลการพิจารณาอัยการสั่งไม่ฟ้องนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหารบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ และบริษัท ระบบขนส่ง มวลชนกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ อัยการมีความเห็นส่งสำนวนของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กับพวกรวม 10 คน ส่งคืนให้กับทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อให้ทางดีเอสไอส่งสำนวนต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการพิจารณาไต่สวนต่อตามอำนาจหน้าที่ เพื่อจัดรูปแบบองค์อำนาจการสอบสวนให้มีความเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โดยในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดนัดหมาย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ส่งนายสัญญา จันทรัตน์ ที่ปรึกษา พร้อมกับทีมทนาย เข้าพบอัยการ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 สำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องจากตนติดภารกิจอยู่ที่ต่างประเทศ โดยผลการพิจารณาอัยการสั่งไม่ฟ้องนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหารบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ และบริษัท ระบบขนส่ง มวลชนกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ อัยการมีความเห็นส่งสำนวนของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กับพวกรวม 10 คน ส่งคืนให้กับทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อให้ทางดีเอสไอส่งสำนวนต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการพิจารณาไต่สวนต่อตามอำนาจหน้าที่ เพื่อจัดรูปแบบองค์อำนาจการสอบสวนให้มีความเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน