นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย โดยยืนยันว่า รัฐบาลไม่กดดัน หากเกษตรกรจะนัดชุมนุมเรียกร้องปรับราคายางพารา กิโลกรัมละ 95 บาท ในวันที่ 14 กันยายน ทั้งนี้ รัฐบาลขอพิจารณา และอาจทบทวนปรับราคา 95 บาท ตามข้อเรียกร้องของมติแกนนำยาง 16 จังหวัด โดยจะขอนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) วันนี้ก่อน และยืนยัน ต้องได้ข้อสรุปและให้ยุติ
อย่างไรก็ตาม ย้ำจุดยืนเดิมของรัฐบาลว่า ยังเป็นตัวเลข 90 บาทต่อกิโลกรัม แต่หากที่ประชุมเห็นตรงกัน ไม่สามารถขยับราคาเป็น 95 บาทได้นั้น รัฐบาลก็พร้อมจัดสรรงบประมาณเพิ่มให้ โดยจะพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือด้านอื่นๆ นอกเหนือจากชดเชยค่าปุ๋ย 1,260 บาทต่อไร่ แทน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังระบุด้วยว่า รัฐบาลพร้อมเดินทางลงพื้นที่อีกครั้ง เพื่อ ไปเจรจาหาข้อสรุป ให้ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่ายต่อไป
ส่วนนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวถึงกรณีตัวแทนเกษตรกรชาว สวนยางพารา ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้ง จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลแทรกแซง ราคายางพารา กิโลกรัมละ 95 บาท หากแทรกแซงกิโลกรัมละ 90 บาท ต้องรวมค่าปัจจัยการผลิต 1,260 บาทต่อไร่ ถ้าไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง จะยกระดับการชุมนุม ด้วยการปิดท่าเรือน้ำลึก และด่านพรมแดนสะเดา ว่า ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เป็นความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มั่นใจว่า เกษตรกรชาว จ.สงขลา มีเหตุผลพอ จะไม่ทำอะไรให้บ้านเมืองเดือดร้อน และไม่สร้างเสียหายต่อประเทศอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ย้ำจุดยืนเดิมของรัฐบาลว่า ยังเป็นตัวเลข 90 บาทต่อกิโลกรัม แต่หากที่ประชุมเห็นตรงกัน ไม่สามารถขยับราคาเป็น 95 บาทได้นั้น รัฐบาลก็พร้อมจัดสรรงบประมาณเพิ่มให้ โดยจะพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือด้านอื่นๆ นอกเหนือจากชดเชยค่าปุ๋ย 1,260 บาทต่อไร่ แทน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังระบุด้วยว่า รัฐบาลพร้อมเดินทางลงพื้นที่อีกครั้ง เพื่อ ไปเจรจาหาข้อสรุป ให้ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่ายต่อไป
ส่วนนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวถึงกรณีตัวแทนเกษตรกรชาว สวนยางพารา ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้ง จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลแทรกแซง ราคายางพารา กิโลกรัมละ 95 บาท หากแทรกแซงกิโลกรัมละ 90 บาท ต้องรวมค่าปัจจัยการผลิต 1,260 บาทต่อไร่ ถ้าไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง จะยกระดับการชุมนุม ด้วยการปิดท่าเรือน้ำลึก และด่านพรมแดนสะเดา ว่า ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เป็นความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มั่นใจว่า เกษตรกรชาว จ.สงขลา มีเหตุผลพอ จะไม่ทำอะไรให้บ้านเมืองเดือดร้อน และไม่สร้างเสียหายต่อประเทศอย่างแน่นอน