นายสมปอง บุญรอด กรรมการและเลขาสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง เปิดเผยว่า ปัญหาหลักของประชาชนในพื้นที่คือสิทธิในที่ดินทำกิน เนื่องจากครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นป่าสงวน พื้นที่เขตอุทยาน และที่สาธารณะประโยชน์ที่ไม่สามารถออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ โดยมีประชาชนลงทะเบียนความเดือดร้อน 700 กว่าครัวเรือน โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดทำข้อมูลและใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS เพื่อแก้ปัญหา พร้อมร่างระเบียบสภาองค์กรชุมชนตำบล กับการแก้ปัญหาที่ดินและการจัดการทรัพยากร โดยในส่วนที่ดินทำกินในเขตพื้นที่สาธารณะ (ทุ่งเลี้ยงสัตว์) มีการออกหนังสือรับรองข้อมูลที่ดินทำกินให้ประชาชน 30 ราย รวมพื้นที่ 186 ไร่ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลละมอได้ส่งเรื่องการยกเลิกทุ่งเลี้ยงสัตว์ใน ต.ละมอ ถึงหัวหน้าสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ตรัง เพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ส่วนปัญหาที่ดินทำกินกรณีเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และอุทยานฯ ประกาศทับซ้อน ปัจจุบันมีการออกหนังสือรับรองข้อมูลที่ดินทำกิน จำนวน 94 แปลง 87 ราย รวมทั้งสิ้น 752 ไร่ และมีการทำหนังสือขอทราบข้อเท็จจริงของพื้นที่ หมู่ 3, 4, 8 และ 9 ของตำบลละมอ ว่าอยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติจริงหรือไม่ ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลละมอ
กรรมการและเลขาสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่ดินในระยะต่อไป ต้องการให้มีการออกข้อบัญญัติการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า หลังจากมีการสำรวจข้อมูลที่ดินและทำผังตำบลเป็นที่เรียบร้อย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลและเรียกร้องให้ราชการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาที่ดิน โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.การจัดการที่ดินด้วยการครองชีพปี 2521 และตามที่ได้มีการปรับปรุงในปี 2550 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในรูปแบบนิคมสหกรณ์ ที่ให้มีคณะกรรมการแก้ปัญหาในระดับตำบล โดยให้มีองค์ประกอบของชุมชน สภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่นและท้องที่
ส่วนปัญหาที่ดินทำกินกรณีเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และอุทยานฯ ประกาศทับซ้อน ปัจจุบันมีการออกหนังสือรับรองข้อมูลที่ดินทำกิน จำนวน 94 แปลง 87 ราย รวมทั้งสิ้น 752 ไร่ และมีการทำหนังสือขอทราบข้อเท็จจริงของพื้นที่ หมู่ 3, 4, 8 และ 9 ของตำบลละมอ ว่าอยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติจริงหรือไม่ ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลละมอ
กรรมการและเลขาสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่ดินในระยะต่อไป ต้องการให้มีการออกข้อบัญญัติการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า หลังจากมีการสำรวจข้อมูลที่ดินและทำผังตำบลเป็นที่เรียบร้อย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลและเรียกร้องให้ราชการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาที่ดิน โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.การจัดการที่ดินด้วยการครองชีพปี 2521 และตามที่ได้มีการปรับปรุงในปี 2550 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในรูปแบบนิคมสหกรณ์ ที่ให้มีคณะกรรมการแก้ปัญหาในระดับตำบล โดยให้มีองค์ประกอบของชุมชน สภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่นและท้องที่