ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เปิดเผยว่า หากท้องฟ้าเปิดจะสามารถสังเกตฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 12 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคมนี้ เวลาประมาณ 01.00 - 04.00 น. บนท้องฟ้าบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) และกลุ่มดาวเพอร์เซอุส (Perseus) ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า 60 - 100 ดวงต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์นับเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ มีสีสันสวยงาม สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม ของทุกปี แต่น่าเสียดายว่าในเดือนสิงหาคมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นช่วงกลางฤดูฝน ทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ยกเว้นในบริเวณภาคใต้ตอนล่างที่เป็นช่วงฝนค่อนข้างน้อย จึงนับเป็นโอกาสของชาวภาคใต้ที่จะได้ชื่นชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น
ทั้งนี้ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์นับเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ มีสีสันสวยงาม สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม ของทุกปี แต่น่าเสียดายว่าในเดือนสิงหาคมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นช่วงกลางฤดูฝน ทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ยกเว้นในบริเวณภาคใต้ตอนล่างที่เป็นช่วงฝนค่อนข้างน้อย จึงนับเป็นโอกาสของชาวภาคใต้ที่จะได้ชื่นชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น