นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการประชุมวอร์รูมติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศของกระทรวงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แม้ทุกภาคส่วนจะมีการรณรงค์ร่วมมือกันกำจัดยุงและลูกน้ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในช่วง 2 เดือนนี้ (กรกฎาคม-สิงหาคม) มักจะมีการระบาดสูงที่สุดในแต่ละปี โดยช่วงวันที่ 18-25 กรกฎาคม 2556 มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ใน 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย สงขลา นครราชสีมา นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ นครพนม และร้อยเอ็ด ซึ่งได้สั่งการให้เป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ และให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งดำเนินการควบควบคุมการแพร่ระบาดโดยเร็ว
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และในฐานะประธานวอร์รูมโรคไข้เลือดออก กล่าวว่า สิ่งที่ต้องย้ำเตือนประชาชนทุกคนให้ตระหนักคือเมื่อเป็นไข้และไม่ลดภายใน 2 วัน หรือมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีจุดแดงปรากฏตามร่างกาย ให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการและให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ และต้องขอความร่วมมือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคน เอาใจใส่และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเต็มที่ คือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำลายยุงลายตัวเต็มวัยอย่างต่อเนื่องทุกๆ 7 วัน หากดำเนินการได้ทุกพื้นที่จะทำให้ปัญหาเบาบางลง
ทั้งนี้ ยอดสะสมผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่เดือน ม.ค.2556 จนถึงขณะนี้มี 81,763 ราย จำนวนผู้ป่วยมากเป็น 3 เท่าของปี 2555 ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ 15-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 28 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งครึ่งหนึ่งในกลุ่มนี้เป็นนักเรียน สำหรับผู้เสียชีวิตมีจำนวน 78 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.10 พบสูงสุดในวัยเรียนและวัยรุ่น กลุ่มอายุ 15-24 ปี
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และในฐานะประธานวอร์รูมโรคไข้เลือดออก กล่าวว่า สิ่งที่ต้องย้ำเตือนประชาชนทุกคนให้ตระหนักคือเมื่อเป็นไข้และไม่ลดภายใน 2 วัน หรือมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีจุดแดงปรากฏตามร่างกาย ให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการและให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ และต้องขอความร่วมมือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคน เอาใจใส่และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเต็มที่ คือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำลายยุงลายตัวเต็มวัยอย่างต่อเนื่องทุกๆ 7 วัน หากดำเนินการได้ทุกพื้นที่จะทำให้ปัญหาเบาบางลง
ทั้งนี้ ยอดสะสมผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่เดือน ม.ค.2556 จนถึงขณะนี้มี 81,763 ราย จำนวนผู้ป่วยมากเป็น 3 เท่าของปี 2555 ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ 15-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 28 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งครึ่งหนึ่งในกลุ่มนี้เป็นนักเรียน สำหรับผู้เสียชีวิตมีจำนวน 78 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.10 พบสูงสุดในวัยเรียนและวัยรุ่น กลุ่มอายุ 15-24 ปี