น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า วันที่ 29 กรกฎาคมนี้ จะหารือกับเกษตรกรสมาชิกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมส่งเสริมชาวนา สมาคมชาวนาไทย และสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อหารือเรื่องราคารับจำนำข้าวในฤดูการผลิตปี 56/57 หลังจากที่กรมได้หารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลังแล้ว โดยเบื้องต้นได้ข้อสรุปที่จะรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 12,000 บาท ความชื้น 15% และจำกัดปริมาณต่อครัวเรือน ไม่เกิน 400,000 บาท ซึ่งลดลงจากข้อเสนอที่ได้หารือกับเกษตรกรเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะจำนำตันละ 13,500 บาท ความชื้น 15% และจำกัดปริมาณต่อครัวเรือนไม่เกิน 400,000 บาท
ขณะที่การรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ข้าวเปลือกเหนียว ยังคงใช้ราคารับจำนำเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะข้าวดังกล่าวปลูกได้ปีละครั้ง มีผลผลิตไม่มาก และขายได้ราคาดี จึงไม่มีปัญหาต่อโครงการรับจำนำของรัฐบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลเห็นว่าควรรับจำนำเหลือ 12,000 บาทเท่านั้น ส่วนข้อเสนอเกษตรกรที่ 13,500 บาท ก็ต้องมาหาข้อสรุปอีกครั้ง ถ้าเกษตรกรไม่รับราคาที่ 12,000 บาท อาจต้องรับจำนำเพียงแค่รอบเดียว อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไขรับจำนำข้าวปี 56/57 ต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ก่อน
สำหรับข้อเสนอรับจำนำตันละ 12,000 บาท เพราะภาครัฐเห็นว่าราคารับจำนำควรจะสร้างสมดุลให้กับทุกฝ่าย และจะทำให้รัฐบาลขาดทุนจากโครงการรับจำนำไม่เกินกรอบวงเงินที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ที่ไม่เกิน 70,000 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรควบคู่ไปด้วย เช่น การลดดอกเบี้ยเงินกู้ การดูแลค่าเช่าที่นาให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่อีกประมาณ 1 ,000 บาท
ส่วนการหารือกับสมาคมโรงสีข้าวไทย ได้ขอความร่วมมือสมาคมฯ ปรับลดค่าสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารในโครงการรับจำนำข้าว ฤดูกาล 56/57 เหลือตันละ 400 บาท จากเดิมตันละ 500 บาท เพื่อช่วยเหลือโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งสมาคมฯจะหารือกับสมาชิกวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ ก่อนมาเสนอกรมฯ อีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงอัตราค่าสีแปรสภาพข้าวนึ่งที่จะรัฐบาลจะเปิดประมูลข้าวเปลือกในสต๊อกรัฐบาลเพื่อมาทำข้าวนึ่งส่งออก โดยเบื้องต้นได้ข้อสรุปที่จะกำหนดราคาสีแปรสภาพข้าวนึ่งเกินตันละ 500 บาทขึ้นไป แต่ตัวเลขที่ชัดเจนต้องรอเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก่อน
ขณะที่การรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ข้าวเปลือกเหนียว ยังคงใช้ราคารับจำนำเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะข้าวดังกล่าวปลูกได้ปีละครั้ง มีผลผลิตไม่มาก และขายได้ราคาดี จึงไม่มีปัญหาต่อโครงการรับจำนำของรัฐบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลเห็นว่าควรรับจำนำเหลือ 12,000 บาทเท่านั้น ส่วนข้อเสนอเกษตรกรที่ 13,500 บาท ก็ต้องมาหาข้อสรุปอีกครั้ง ถ้าเกษตรกรไม่รับราคาที่ 12,000 บาท อาจต้องรับจำนำเพียงแค่รอบเดียว อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไขรับจำนำข้าวปี 56/57 ต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ก่อน
สำหรับข้อเสนอรับจำนำตันละ 12,000 บาท เพราะภาครัฐเห็นว่าราคารับจำนำควรจะสร้างสมดุลให้กับทุกฝ่าย และจะทำให้รัฐบาลขาดทุนจากโครงการรับจำนำไม่เกินกรอบวงเงินที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ที่ไม่เกิน 70,000 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรควบคู่ไปด้วย เช่น การลดดอกเบี้ยเงินกู้ การดูแลค่าเช่าที่นาให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่อีกประมาณ 1 ,000 บาท
ส่วนการหารือกับสมาคมโรงสีข้าวไทย ได้ขอความร่วมมือสมาคมฯ ปรับลดค่าสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารในโครงการรับจำนำข้าว ฤดูกาล 56/57 เหลือตันละ 400 บาท จากเดิมตันละ 500 บาท เพื่อช่วยเหลือโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งสมาคมฯจะหารือกับสมาชิกวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ ก่อนมาเสนอกรมฯ อีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงอัตราค่าสีแปรสภาพข้าวนึ่งที่จะรัฐบาลจะเปิดประมูลข้าวเปลือกในสต๊อกรัฐบาลเพื่อมาทำข้าวนึ่งส่งออก โดยเบื้องต้นได้ข้อสรุปที่จะกำหนดราคาสีแปรสภาพข้าวนึ่งเกินตันละ 500 บาทขึ้นไป แต่ตัวเลขที่ชัดเจนต้องรอเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก่อน