เมื่อเวลา 10.00น. สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือพยาน ซึ่งเป็นการลงนามระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. นำโดยนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. นำคณะกรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมพิธี ส่วน สตช.นำโดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นำข้าราชการตำรวจระดับสูงในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 1 ร่วมในพิธีดังกล่าว
นายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า การจัดพิธีลงนามครั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือในการให้ความคุ้มครองพยานตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองพยาน พ.ศ.2554 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดแนวทางปฏิบัติการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2548 ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีผลสำเร็จ
เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ทั้ง 2 สำนักงานต้องถือแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันในการปฏิบัติและประสานงานการให้ความคุ้มครองพยาน ต้องระบุชื่อผู้ร้องขอที่จะให้ความคุ้มครอง ระยะเวลาเริ่มต้น สิ้นสุด เพื่อให้สำนักงานตำรวจส่งเจ้าพนักงานตำรวจมาให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ต้องมีหน่วยประสานคุ้มครองช่วยเหลือพยานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็วในการประสานงานและปฏิบัติงานของป.ป.ช.และสตช.
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการคุ้มครองพยานนั้นให้ใช้งบประมาณของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม และต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน
ขณะที่นายปานเทพ กล่าวว่า มาตรการคุ้มครองพยานถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการป้องการทุจริตที่สำคัญ ที่ระบุไว้ในกฎหมายของ ป.ป.ช. โดยเนื้อหาของกฎหมายระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองพยานที่ให้เบาะแส โดยให้กรรมการ ป.ป.ช.แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีมาตรการคุ้มครองพยานต่อไป เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นพยานควรได้รับสิทธิในการคุ้มครองตามกฎหมาย
ดังนั้น การลงนามครั้งนี้เป็นการประสานความช่วยเหลือและคุ้มครองพยานระหว่่างสองหน่วยงานเพื่อให้มีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อให้ประชาชนบุคคลต่างๆ กล้ามาเป็นพยานในคดีการทุจริตต่อไป
ประธาน ป.ป.ช. ระบุอีกว่า ขอขอบคุณตำรวจที่ทำงานร่วมกับ ป.ป.ช.เป็นอย่างดีเสมอมา และตนเห็นว่าจะต้องมีมาตรการที่ร่วมมือกันต่อไปอีก อาทิ มาตรการหลังจากออกจากหมายจับแล้วที่ต้องให้ตำรวจช่วยอีกทาง ซึ่ง ป.ป.ช.จะมีการประสานไป รวมทั้งการควบคุมตัวชั่วคราวระหว่างส่งไปศาล เพราะที่ ป.ป.ช.ไม่มีพื้นที่ ก็ต้องส่งตัวให้ตำรวจช่วยด้วยเช่นกัน
นายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า การจัดพิธีลงนามครั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือในการให้ความคุ้มครองพยานตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองพยาน พ.ศ.2554 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดแนวทางปฏิบัติการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2548 ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีผลสำเร็จ
เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ทั้ง 2 สำนักงานต้องถือแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันในการปฏิบัติและประสานงานการให้ความคุ้มครองพยาน ต้องระบุชื่อผู้ร้องขอที่จะให้ความคุ้มครอง ระยะเวลาเริ่มต้น สิ้นสุด เพื่อให้สำนักงานตำรวจส่งเจ้าพนักงานตำรวจมาให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ต้องมีหน่วยประสานคุ้มครองช่วยเหลือพยานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็วในการประสานงานและปฏิบัติงานของป.ป.ช.และสตช.
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการคุ้มครองพยานนั้นให้ใช้งบประมาณของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม และต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน
ขณะที่นายปานเทพ กล่าวว่า มาตรการคุ้มครองพยานถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการป้องการทุจริตที่สำคัญ ที่ระบุไว้ในกฎหมายของ ป.ป.ช. โดยเนื้อหาของกฎหมายระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองพยานที่ให้เบาะแส โดยให้กรรมการ ป.ป.ช.แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีมาตรการคุ้มครองพยานต่อไป เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นพยานควรได้รับสิทธิในการคุ้มครองตามกฎหมาย
ดังนั้น การลงนามครั้งนี้เป็นการประสานความช่วยเหลือและคุ้มครองพยานระหว่่างสองหน่วยงานเพื่อให้มีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อให้ประชาชนบุคคลต่างๆ กล้ามาเป็นพยานในคดีการทุจริตต่อไป
ประธาน ป.ป.ช. ระบุอีกว่า ขอขอบคุณตำรวจที่ทำงานร่วมกับ ป.ป.ช.เป็นอย่างดีเสมอมา และตนเห็นว่าจะต้องมีมาตรการที่ร่วมมือกันต่อไปอีก อาทิ มาตรการหลังจากออกจากหมายจับแล้วที่ต้องให้ตำรวจช่วยอีกทาง ซึ่ง ป.ป.ช.จะมีการประสานไป รวมทั้งการควบคุมตัวชั่วคราวระหว่างส่งไปศาล เพราะที่ ป.ป.ช.ไม่มีพื้นที่ ก็ต้องส่งตัวให้ตำรวจช่วยด้วยเช่นกัน