นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสภาพหนี้ครัวเรือน จากกว่า 1,000 กลุ่มตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 64 มีหนี้สิน และมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนรวมกว่า 188,000 บาทต่อครัวเรือน ขยายตัวจากร้อยละ 12 จากปีก่อน ซึ่งเป็นหนี้ครัวเรือนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่การสำรวจในรอบ 5 ปี โดยอัตราการขยายตัวของหนี้นอกระบบสูงขึ้นถึงร้อยละ 13.6 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552
กลุ่มตัวอย่างที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือกลุ่มที่กู้เงินต่ำกว่า 5,000 บาท เพราะมีการกู้เงินนอกระบบสูงที่สุด และมีปัญหาในการผ่อนชำระ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป เป็นการกู้เงินจากบัตรเครดิต ซึ่งยังสามารถชำระหนี้ตามกำหนดเวลาได้
ส่วนสาเหตุที่ทำให้หนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน มาจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเรียนบุตรหลาน และการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น อาทิ บ้าน และรถ ขณะที่ความสามารถการชำระหนี้ในรอบปีที่ผ่านมา พบว่ากว่าร้อยละ 70 เคยมีปัญหา สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยน้อยลงไปด้วย
ทั้งนี้ ผลสำรวจ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31 มีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ และพบว่าตั้งแต่ปี 552 จนถึง 2555 คนก่อหนี้มากขึ้น มีการก่อหนี้ใหม่ในปีนี้ถึงร้อยละ 10
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าแม้การก่อหนี้ภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหายังไม่รุนแรง รัฐบาลยังสามารถดูแลได้ โดยเฉพาะดูแลค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อย
กลุ่มตัวอย่างที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือกลุ่มที่กู้เงินต่ำกว่า 5,000 บาท เพราะมีการกู้เงินนอกระบบสูงที่สุด และมีปัญหาในการผ่อนชำระ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป เป็นการกู้เงินจากบัตรเครดิต ซึ่งยังสามารถชำระหนี้ตามกำหนดเวลาได้
ส่วนสาเหตุที่ทำให้หนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน มาจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเรียนบุตรหลาน และการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น อาทิ บ้าน และรถ ขณะที่ความสามารถการชำระหนี้ในรอบปีที่ผ่านมา พบว่ากว่าร้อยละ 70 เคยมีปัญหา สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยน้อยลงไปด้วย
ทั้งนี้ ผลสำรวจ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31 มีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ และพบว่าตั้งแต่ปี 552 จนถึง 2555 คนก่อหนี้มากขึ้น มีการก่อหนี้ใหม่ในปีนี้ถึงร้อยละ 10
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าแม้การก่อหนี้ภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหายังไม่รุนแรง รัฐบาลยังสามารถดูแลได้ โดยเฉพาะดูแลค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อย