นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า หลังจากได้เชิญตัวแทนนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ผู้นำชุมชน พระ ทหาร ตำรวจ กรมควบคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมสุขภาพจิต และสื่อมวลชน มาร่วมกันระดมความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ให้เกิดเป็นรูปธรรม ก่อนจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อนำไปปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้นำข้อสรุปของทุกภาคส่วนมาจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า "มาตรการป้องกันและแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา" พร้อมทั้งทำหนังสือเวียนให้วิทยาลัยสังกัด สอศ. ได้นำไปปฏิบัติแล้ว โดยหนังสือฉบับดังกล่าว ได้กำหนดมาตรการเชิงรุก 7 ข้อ มาตรการต่อเนื่อง 5 ข้อ มาตรการทางสังคม 1 ข้อ มาตรการทางกฎหมาย 2 ข้อ รวมทั้งจุดเสี่ยงทั้ง 11 จุด และรถโดยสารที่เป็นสายที่เสี่ยง 23 สาย
สำหรับมาตรการเชิงรุก อาทิ ควบคุมดูแล เฝ้าระวังนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในช่วงเปิดภาคเรียนอย่างใกล้ชิด โดยไม่ให้รุ่นพี่เข้ามาครอบงำในทางที่ผิด ทั้งในสถานศึกษา หรือระหว่างเดินทาง พร้อมทั้งคัดกรองและแก้ปัญหานักเรียน นักศึกษา เป็นรายบุคคลร่วมกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด โดยให้สถานศึกษาประชุมครูที่ปรึกษาทุกสาขาวิชาทุกสัปดาห์
ส่วนมาตรการต่อเนื่องจะปรับแผนการเรียนให้มีสัดส่วนการเรียนสายวิชาชีพมากขึ้น เพื่อให้เด็กมองเห็นอนาคตของการเรียนสายวิชาชีพ โดยร่วมมือกับสถานประกอบการในการฝึกงาน เพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนหนังสือ และมาตรการทางกฎหมาย อาทิ การลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิด ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาในการให้ออก และจัดหาสถานที่เรียนให้ใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับมาตรการเชิงรุก อาทิ ควบคุมดูแล เฝ้าระวังนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในช่วงเปิดภาคเรียนอย่างใกล้ชิด โดยไม่ให้รุ่นพี่เข้ามาครอบงำในทางที่ผิด ทั้งในสถานศึกษา หรือระหว่างเดินทาง พร้อมทั้งคัดกรองและแก้ปัญหานักเรียน นักศึกษา เป็นรายบุคคลร่วมกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด โดยให้สถานศึกษาประชุมครูที่ปรึกษาทุกสาขาวิชาทุกสัปดาห์
ส่วนมาตรการต่อเนื่องจะปรับแผนการเรียนให้มีสัดส่วนการเรียนสายวิชาชีพมากขึ้น เพื่อให้เด็กมองเห็นอนาคตของการเรียนสายวิชาชีพ โดยร่วมมือกับสถานประกอบการในการฝึกงาน เพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนหนังสือ และมาตรการทางกฎหมาย อาทิ การลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิด ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาในการให้ออก และจัดหาสถานที่เรียนให้ใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข