นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานได้มีการสรุปภาพรวมการบริหารจัดน้ำและการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งปี 2555/2556 เรียบร้อยแล้ว พบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการจัดส่งน้ำและใช้น้ำตามแผนที่วางไว้ที่ 9,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้จะมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวฝืนคำเตือนของรัฐบาลที่ไม่ให้มีการปลูกข้าวนาปรัง ครั้งที่ 2 ประจำปีการผลิต 2555/2556 นอกฤดูกาลบ้างก็ตาม เนื่องจากภาพรวมเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐดีในการไม่ปลูกพืชที่ใช้น้ำมากในหน้าแล้งตามที่ได้ประกาศเตือนว่าน้ำจะไม่เพียงพอในการบริโภคช่วงหน้าแล้ง
ขณะนี้กรมชลประทานเริ่มการจัดส่งน้ำฤดูนาปี ประจำปีการผลิต 2556/2557 แล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คาดว่า การปลูกข้าวนาปีฤดูกาลผลิตนี้จะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรจำหน่ายข้าวได้ราคาสูง พร้อมมองว่า จะเกิดฝนทิ้งช่วงจึงมีการกักเก็บน้ำต้นทุนไว้เพียงพอใช้เพื่อการเพาะปลูกฤดูฝนนี้แน่นอนและจะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก ส่วนสถานการณ์ปริมาณน้ำครึ่งปีหลังต้องรอดูน้ำฝนที่จะตกลงแล้วไหลลงอ่างเก็บน้ำมีจำนวนเท่าไหร่และมีความสมดุลหรือไม่ เพราะต้องมีการป้องกันอุทกภัยประเทศและใช้ในการเพาะปลูกฤดูนาปี รวมถึงพืชเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย โดยกรมชลประทานจะมีการบริหารจัดการตามแผนที่วางไว้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์ภัยแล้งว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงปลายหน้าแล้งแล้ว ซึ่งปีนี้พื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน สาเหตุจากปริมาณฝนปีที่ผ่านมาตกน้อยมากส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อย ส่วนใหญ่ประชาชนจะมีปริมาณน้ำอุปโภค-บริโภคไม่เพียงพอ ขณะที่ปริมาณน้ำใช้ด้านการเกษตรในพื้นที่ชลประทานมีเพียงพอ ยกเว้นพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ประสบปัญหาบ้าง
ส่วนความคืบหน้าการขยายพื้นที่เขตชลประทานเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการจัดทำแผนและของบประมาณดำเนินการ ซึ่งกรมชลประทานมีอัตราการเพิ่มเขตพื้นที่ชลประทานอยู่ที่ประมาณ 200,000 ไร่ต่อปี
ขณะนี้กรมชลประทานเริ่มการจัดส่งน้ำฤดูนาปี ประจำปีการผลิต 2556/2557 แล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คาดว่า การปลูกข้าวนาปีฤดูกาลผลิตนี้จะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรจำหน่ายข้าวได้ราคาสูง พร้อมมองว่า จะเกิดฝนทิ้งช่วงจึงมีการกักเก็บน้ำต้นทุนไว้เพียงพอใช้เพื่อการเพาะปลูกฤดูฝนนี้แน่นอนและจะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก ส่วนสถานการณ์ปริมาณน้ำครึ่งปีหลังต้องรอดูน้ำฝนที่จะตกลงแล้วไหลลงอ่างเก็บน้ำมีจำนวนเท่าไหร่และมีความสมดุลหรือไม่ เพราะต้องมีการป้องกันอุทกภัยประเทศและใช้ในการเพาะปลูกฤดูนาปี รวมถึงพืชเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย โดยกรมชลประทานจะมีการบริหารจัดการตามแผนที่วางไว้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์ภัยแล้งว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงปลายหน้าแล้งแล้ว ซึ่งปีนี้พื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน สาเหตุจากปริมาณฝนปีที่ผ่านมาตกน้อยมากส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อย ส่วนใหญ่ประชาชนจะมีปริมาณน้ำอุปโภค-บริโภคไม่เพียงพอ ขณะที่ปริมาณน้ำใช้ด้านการเกษตรในพื้นที่ชลประทานมีเพียงพอ ยกเว้นพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ประสบปัญหาบ้าง
ส่วนความคืบหน้าการขยายพื้นที่เขตชลประทานเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการจัดทำแผนและของบประมาณดำเนินการ ซึ่งกรมชลประทานมีอัตราการเพิ่มเขตพื้นที่ชลประทานอยู่ที่ประมาณ 200,000 ไร่ต่อปี