สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้สำเนาเอกสารแจ้งความต่อกองบังคับการกองปราบปราม เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีกับ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา จากกรณียื่นหนังสือร้องเรียนและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างๆ มุ่งทำลายความเชื่อมั่นความยุติธรรมในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงว่า การแต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และการที่ นายชัช ชลวร ยังเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และสามารถปฏิบัติหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้นชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่เป็นการขัดพระบรมราชโองการ ดังนั้นข้อกล่าวหาของนายเรืองไกร จึงเป็นเท็จบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ความมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเสื่อมศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นการทำลายสถาบันตุลาการของชาติ เนื่องจากนายเรืองไกร เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. มีวุฒิการศึกษาย่อมรู้ว่าในการเสนอเรื่องเพื่อให้มีพระบรมราชโองการมีการพิจารณากลั่นกรองตามระเบียบราชการอยู่แล้ว ทั้งยังผ่านการพิจารณาของประธานวุฒิสภา
ดังนั้นการอ้างของนายเรืองไกร เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงการกระทำไม่สุจริต ด้วยการกล่าวหาว่ามีการแต่งตั้งนายวสันต์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมิชอบจากนั้นได้ยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ถัดมาไปยื่นคำร้องต่อวุฒิสภา และล่าสุดได้ยื่นคำร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แสดงให้เห็นเจตนาว่าไม่ได้มีจุดประสงค์ในการตรวจสอบตามสิทธิ แต่มีจุดมุ่งหมายเผยแพร่ให้เป็นข่าวในทางทำลายความน่าเชื่อถือเกียรติคุณชื่อเสียงของศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กระทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา136 และมาตรา 198
ทั้งนี้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงว่า การแต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และการที่ นายชัช ชลวร ยังเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และสามารถปฏิบัติหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้นชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่เป็นการขัดพระบรมราชโองการ ดังนั้นข้อกล่าวหาของนายเรืองไกร จึงเป็นเท็จบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ความมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเสื่อมศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นการทำลายสถาบันตุลาการของชาติ เนื่องจากนายเรืองไกร เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. มีวุฒิการศึกษาย่อมรู้ว่าในการเสนอเรื่องเพื่อให้มีพระบรมราชโองการมีการพิจารณากลั่นกรองตามระเบียบราชการอยู่แล้ว ทั้งยังผ่านการพิจารณาของประธานวุฒิสภา
ดังนั้นการอ้างของนายเรืองไกร เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงการกระทำไม่สุจริต ด้วยการกล่าวหาว่ามีการแต่งตั้งนายวสันต์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมิชอบจากนั้นได้ยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ถัดมาไปยื่นคำร้องต่อวุฒิสภา และล่าสุดได้ยื่นคำร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แสดงให้เห็นเจตนาว่าไม่ได้มีจุดประสงค์ในการตรวจสอบตามสิทธิ แต่มีจุดมุ่งหมายเผยแพร่ให้เป็นข่าวในทางทำลายความน่าเชื่อถือเกียรติคุณชื่อเสียงของศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กระทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา136 และมาตรา 198