ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าของไทย มาจากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยแข็งแกร่ง ขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอ่อนแอลง ทำให้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และปี 2555 หลังจากไทยฟื้นตัวจากน้ำท่วม นักค้าเงินต่างชาติได้หันมาลงทุน และเก็งกำไรเงินบาท เนื่องจากเห็นโอกาสที่เงินบาทของไทยจะแข็งค่าขึ้นโดยเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทแล้ว หลังจากแข็งค่าไปแตะระดับ 28.5 บาท ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาถึง 90 สตางค์ภายใน 1 สัปดาห์ และเห็นว่าสถานการณ์เงินบาทขณะนี้ไม่น่าเป็นห่วง พร้อมแนะว่า กระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติ ควรหันหน้ามาแก้ไขปัญหาเงินบาทร่วมกัน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อไปว่า การเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ จะมีต้นทุนเกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรเตรียมมาตรการดูแลไว้ โดยเชื่อว่า หากมีมาตรการที่เหมาะสมเงินทุนจะไหลเข้าไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าไทย ซึ่งจะส่งผลค่าเงินในประเทศนั้นๆ แข็งค่าตามไทยขึ้นมา
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อไปว่า การเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ จะมีต้นทุนเกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรเตรียมมาตรการดูแลไว้ โดยเชื่อว่า หากมีมาตรการที่เหมาะสมเงินทุนจะไหลเข้าไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าไทย ซึ่งจะส่งผลค่าเงินในประเทศนั้นๆ แข็งค่าตามไทยขึ้นมา