องค์การอนามัยโลก (WHO) ริเริ่มจัดตั้งโครงการฉุกเฉินรับมือเชื้อมาลาเรีย หากเชื้อมาลาเรียมีการดื้อยาอาร์ทีมิซินินขึ้นมา โดยช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ยาชนิดดังกล่าว สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียในกัมพูชาได้ถึงร้อยละ 75 แต่บางพื้นที่ห่างไกลของกัมพูชา พม่า ไทย และเวียดนาม ยากลับรักษาไม่ได้ผล เพราะเชื้อมาลาเรียมีฤทธิ์ต้านยา องค์การอนามัยโลกจึงอยากเตือนให้ทั่วโลกระวังอันตราย หากเชื้อตัวที่ดื้อยาแพร่ระบาดจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของโลก
องค์การอนามัยโลก ยังระบุว่า แผนรับมือฉุกเฉินนี้ จะเป็นกรอบการทำงานระดับยุทธศาสตร์ เพื่อกำจัดเชื้อมาลาเรียดื้อยาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยศูนย์กลางของความร่วมมือจะอยู่ที่กัมพูชา
องค์การอนามัยโลก ยังระบุว่า แผนรับมือฉุกเฉินนี้ จะเป็นกรอบการทำงานระดับยุทธศาสตร์ เพื่อกำจัดเชื้อมาลาเรียดื้อยาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยศูนย์กลางของความร่วมมือจะอยู่ที่กัมพูชา