นายภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามลดการแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ และตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะเกรงว่า ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าอัตราร้อยละ 2 แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสามารถควบคุมได้
นอกจากนี้ มองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อแต่อย่างใด เชื่อว่าหากลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย จึงอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เร็วที่สุด และดำเนินมาตรการตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ มองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อแต่อย่างใด เชื่อว่าหากลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย จึงอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เร็วที่สุด และดำเนินมาตรการตามความเหมาะสม