ศาลสูงสุดอินเดียมีคำพิพากษา ปฏิเสธคำร้องขอจดสิทธิบัตรคุ้มครองยารักษามะเร็งของบริษัทโนวาร์ทิส เหล่านักเคลื่อนไหวพากันแซ่ซ้องเป็นการปกป้องช่องทางเข้าถึงยาสามัญราคาถูกและรักษาชีวิตผู้คนในประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่บริษัทยายักษ์ใหญ่สัญชาติสวิสแห่งนี้แสดงความผิดหวัง ระบุเป็นการบ่อนทำลายแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมเวชภัณฑ์เพื่อรักษาโรค
ภายหลังการต่อสู้ทางกฎหมายอันยาวนานถึง 7 ปี ในที่สุด ศาลสูงสุดแดนภารตะก็มีคำวินิจฉัยเมื่อวันจันทร์ (1) ว่า ส่วนประกอบของยารักษาโรคมะเร็ง "กลีเว็ค” (Glivec) ที่ โนวาร์ทิส บริษัทยายักษ์ใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ อ้างว่า มีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ร่างกายซึมซับได้เร็วขึ้นนั้น ยังคงไม่ผ่านเกณฑ์การเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ตามที่กฎหมายอินเดียกำหนดเอาไว้
ศาลยังยกคำร้องคราวนี้โดยระบุให้โนวาร์ทิสรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย ซึ่งไม่มีการเปิดเผยมูลค่าออกมาแต่อย่างใด และบริษัทยังสามารถยื่นคำร้องให้มีการทบทวนคำวินิจฉัยภายใน 90 วัน
ทั้งนี้ กฎหมายอินเดียห้ามบริษัทยาได้จดสิทธิบัตรใหม่ ในกรณีที่สูตรยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์เรียกขานกลวิธีแบบนี้ของพวกบริษัทยาว่า "evergreening" และคำวินิจฉัยนี้เท่ากับเปิดทางให้พวกผู้ผลิตยาชื่อสามัญ (generic name) ยังคงสามารถผลิตตัวยาซึ่งเลียนแบบกลิเว็คได้ต่อไป
คดีนี้เป็นที่จับตามองมากที่สุดในบรรดาการต่อสู้ทางกฎหมายหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาในอินเดีย เนื่องจากถูกมองว่า มีผลกระทบอย่างกว้างไกลในการกำหนดขอบเขตการคุ้มครองสิทธิบัตรสำหรับบริษัทเวชภัณฑ์นานาชาติที่ทำธุรกิจอยู่ในพวกตลาดที่มีอนาคต เฉกเช่นตลาดกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ๆ อย่างอินเดีย
ภายหลังการต่อสู้ทางกฎหมายอันยาวนานถึง 7 ปี ในที่สุด ศาลสูงสุดแดนภารตะก็มีคำวินิจฉัยเมื่อวันจันทร์ (1) ว่า ส่วนประกอบของยารักษาโรคมะเร็ง "กลีเว็ค” (Glivec) ที่ โนวาร์ทิส บริษัทยายักษ์ใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ อ้างว่า มีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ร่างกายซึมซับได้เร็วขึ้นนั้น ยังคงไม่ผ่านเกณฑ์การเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ตามที่กฎหมายอินเดียกำหนดเอาไว้
ศาลยังยกคำร้องคราวนี้โดยระบุให้โนวาร์ทิสรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย ซึ่งไม่มีการเปิดเผยมูลค่าออกมาแต่อย่างใด และบริษัทยังสามารถยื่นคำร้องให้มีการทบทวนคำวินิจฉัยภายใน 90 วัน
ทั้งนี้ กฎหมายอินเดียห้ามบริษัทยาได้จดสิทธิบัตรใหม่ ในกรณีที่สูตรยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์เรียกขานกลวิธีแบบนี้ของพวกบริษัทยาว่า "evergreening" และคำวินิจฉัยนี้เท่ากับเปิดทางให้พวกผู้ผลิตยาชื่อสามัญ (generic name) ยังคงสามารถผลิตตัวยาซึ่งเลียนแบบกลิเว็คได้ต่อไป
คดีนี้เป็นที่จับตามองมากที่สุดในบรรดาการต่อสู้ทางกฎหมายหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาในอินเดีย เนื่องจากถูกมองว่า มีผลกระทบอย่างกว้างไกลในการกำหนดขอบเขตการคุ้มครองสิทธิบัตรสำหรับบริษัทเวชภัณฑ์นานาชาติที่ทำธุรกิจอยู่ในพวกตลาดที่มีอนาคต เฉกเช่นตลาดกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ๆ อย่างอินเดีย