นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ความร้อนแรงของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ ยังไม่เห็นสัญญาณเรื่องฟองสบู่ว่าจะอันตราย เนื่องจากราคาที่ปรับขึ้นยังอยู่บนพื้นฐานที่อธิบายได้ ทั้งเรื่องของราคาที่ดินตามการปรับผังเมืองใหม่ โครงการรถไฟฟ้าที่ทำให้ความต้องการของประชาชนเปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินชีวิต ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่อจีดีพีต่ำลง จากอดีตจากที่เคยอยู่สูง 11 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2555 เป็นการสะท้อนว่าผู้ประกอบการไม่ได้มีการพึ่งพาเงินสินเชื่อมากนัก ซึ่งภาพรวมของสถานการณ์ต่างจากวิกฤตปี 2540
นายเชาว์ กล่าวถึงยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลต่อจีดีพีว่า มีการขยับขึ้นสูงต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนถึงภาระหนี้ของภาคครัวเรือน โดยในปี 2555 ยอดคงค้างของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 19.9 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 19.5 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โดยในอีก 2 ปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 -22 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี
ทั้งนี้ปริมาณหนี้ที่เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะข้างหน้าหากวัฏจักรทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสู่ทิศทางของดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อภาระหนี้ของประชาชนในระยะข้างหน้าได้
นายเชาว์ กล่าวถึงยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลต่อจีดีพีว่า มีการขยับขึ้นสูงต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนถึงภาระหนี้ของภาคครัวเรือน โดยในปี 2555 ยอดคงค้างของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 19.9 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 19.5 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โดยในอีก 2 ปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 -22 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี
ทั้งนี้ปริมาณหนี้ที่เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะข้างหน้าหากวัฏจักรทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสู่ทิศทางของดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อภาระหนี้ของประชาชนในระยะข้างหน้าได้