นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา ยกระดับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนที่ดี และการเป็นเลิศของผู้ผลิตชิ้นส่วนว่า ปีนี้สถาบันยานยนต์ตั้งเป้าให้การผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 40 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 50 และเพิ่มจีดีพีภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์จากร้อยละ 8 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 10 ของจีดีพี พร้อมกันนี้ยังมุ่งส่งเสริมให้เอสเอ็มอีกลุ่มยานยนต์มีมูลค่าการส่งออกมากขึ้นเป็น 1 ล้านล้านบาทในปีนี้ จากปีก่อนอยู่ที่กว่า 800,000 ล้านบาท
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้งบประมาณจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)วงเงินกว่า 8,100 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์ทดสอบและวิจัยยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกใช้วงเงิน 2,400 ล้านบาท ซึ่งจะเสริมศักยภาพการทดสอบชิ้นส่วน 19 รายการตาม 10 ชาติอาเซียน ระยะที่ 2 เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานชิ้นฯ ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) วงเงิน 900 ล้านบาท เพื่อช่วยทดสอบรถยนต์ในตลาดเกรย์มาร์เก็ต หรือรถนำเข้าอิสระ ที่มักมีมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย และระยะที่ 3 สนามทดสอบยานยนต์วงเงิน 4,800 ล้านบาท โดยจะทดสอบรถยนต์ในอัตรา 1 ต่อ 5,000 คัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยไม่ต้องส่งชิ้นส่วน ที่ผลิตได้ไปทดสอบในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือ เยอรมนี โดยคาดว่าศูนย์ทดสอบฯ เฟสแรกจะเสร็จภายในปี 2558 รองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
ทั้งนี้ ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมธนารักษ์ และสถาบันยานยนต์ จะร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ตั้งที่จะใช้ในการก่อสร้างศูนย์ทดสอบ โดยจะต้องไม่ไกลจะแหล่งผลิต และท่าเรือน้ำลึกเพื่อสะดวกในการส่งออก เช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี รวมถึงทั้งที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้งบประมาณจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)วงเงินกว่า 8,100 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์ทดสอบและวิจัยยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกใช้วงเงิน 2,400 ล้านบาท ซึ่งจะเสริมศักยภาพการทดสอบชิ้นส่วน 19 รายการตาม 10 ชาติอาเซียน ระยะที่ 2 เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานชิ้นฯ ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) วงเงิน 900 ล้านบาท เพื่อช่วยทดสอบรถยนต์ในตลาดเกรย์มาร์เก็ต หรือรถนำเข้าอิสระ ที่มักมีมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย และระยะที่ 3 สนามทดสอบยานยนต์วงเงิน 4,800 ล้านบาท โดยจะทดสอบรถยนต์ในอัตรา 1 ต่อ 5,000 คัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยไม่ต้องส่งชิ้นส่วน ที่ผลิตได้ไปทดสอบในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือ เยอรมนี โดยคาดว่าศูนย์ทดสอบฯ เฟสแรกจะเสร็จภายในปี 2558 รองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
ทั้งนี้ ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมธนารักษ์ และสถาบันยานยนต์ จะร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ตั้งที่จะใช้ในการก่อสร้างศูนย์ทดสอบ โดยจะต้องไม่ไกลจะแหล่งผลิต และท่าเรือน้ำลึกเพื่อสะดวกในการส่งออก เช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี รวมถึงทั้งที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์