นายกิตติรัตน์ ณ ระรอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานสัมมนายุทธศาสตร์การลงทุนเพื่ออนาคตประเทศ โดยกล่าวเน้นถึงเหตุผลและความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะคมนาคมขนส่งของประเทศให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในอนาคตภายใต้การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และภายใต้กรอบเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงถึงแผนการลงทุนคมนาคมขนส่งของประเทศว่า อยู่ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ การก่อสร้างระบบรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ การพัฒนาท่าเรือ และเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง พัฒนาระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง จากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และพัฒนาระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นระบบการขนส่งผู้โดยสารหลัก
ขณะที่การจัดงานนิทรรศการไทยแลนด์ 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก เพื่อแจงถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 2.2 ล้านล้านบาท นายชัชชาติ กล่าวว่า รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ก่อนจะรวบรวมเพื่อปรับแผนยุทธศาสตร์การลงทุน เพื่ออนาคตประเทศไทยเสนอคณะรัฐมนตรี สำหรับโครงการก่อสร้างในแผนนี้กว่า ร้อยละ 80 จะเป็นโครงการระบบราง ซึ่งจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลง ร้อยละ 2 ของ GDP หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท ในช่วง 7 ปีที่ทำโครงการ จากปัจจุบันต้นทุนด้านโลจิสติกส์อยู่ที่ ร้อยละ 15.2 ของ GDP และยืนยันจะดูแลหนี้สาธารณะไม่ให้เกิน ร้อยละ 50 ของ GDP
ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงถึงแผนการลงทุนคมนาคมขนส่งของประเทศว่า อยู่ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ การก่อสร้างระบบรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ การพัฒนาท่าเรือ และเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง พัฒนาระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง จากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และพัฒนาระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นระบบการขนส่งผู้โดยสารหลัก
ขณะที่การจัดงานนิทรรศการไทยแลนด์ 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก เพื่อแจงถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 2.2 ล้านล้านบาท นายชัชชาติ กล่าวว่า รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ก่อนจะรวบรวมเพื่อปรับแผนยุทธศาสตร์การลงทุน เพื่ออนาคตประเทศไทยเสนอคณะรัฐมนตรี สำหรับโครงการก่อสร้างในแผนนี้กว่า ร้อยละ 80 จะเป็นโครงการระบบราง ซึ่งจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลง ร้อยละ 2 ของ GDP หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท ในช่วง 7 ปีที่ทำโครงการ จากปัจจุบันต้นทุนด้านโลจิสติกส์อยู่ที่ ร้อยละ 15.2 ของ GDP และยืนยันจะดูแลหนี้สาธารณะไม่ให้เกิน ร้อยละ 50 ของ GDP