ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบความแตกต่างในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งเรือนจำขังนักโทษการเมืองของเกาหลีเหนือ เมื่อปี 2549 และปีนี้ (2556) แสดงให้เห็นว่าเกาหลีเหนือสร้างกำแพงล้อมรอบเรือนจำ และยังครอบคลุมถึงหมู่บ้านใกล้เคียง รวมทั้งสร้างป้อมตรวจการณ์ และหอคอยสังเกตการณ์เพิ่มขึ้นด้วย
องค์การนิรโทษกรรมสากล หรือ เอไอ (AI) ระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเป็นการทำให้เส้นแบ่งระหว่างเรือนจำและพื้นที่ของพลเรือนลดน้อยลง ส่งผลให้ชาวบ้านในละแวกนั้นถูกจำกัดพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังขยายพื้นที่ควบคุมของเรือนจำ
เอไอ คาดว่ามีนักโทษการเมืองในเรือนจำประมาณ 200,000 คน และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนักภายในเรือนจำ เช่น บังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาส และทำโทษด้วยการลดปริมาณอาหาร และมีการใช้ความรุนแรงต่อนักโทษ
นอกจากนี้ ยังพบว่าหลังจากนายคิม จอง อึน ขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือคนใหม่ ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เพื่อควบคุมสถานการณ์การเมืองในประเทศให้สงบในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้นำ
องค์การนิรโทษกรรมสากล หรือ เอไอ (AI) ระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเป็นการทำให้เส้นแบ่งระหว่างเรือนจำและพื้นที่ของพลเรือนลดน้อยลง ส่งผลให้ชาวบ้านในละแวกนั้นถูกจำกัดพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังขยายพื้นที่ควบคุมของเรือนจำ
เอไอ คาดว่ามีนักโทษการเมืองในเรือนจำประมาณ 200,000 คน และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนักภายในเรือนจำ เช่น บังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาส และทำโทษด้วยการลดปริมาณอาหาร และมีการใช้ความรุนแรงต่อนักโทษ
นอกจากนี้ ยังพบว่าหลังจากนายคิม จอง อึน ขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือคนใหม่ ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เพื่อควบคุมสถานการณ์การเมืองในประเทศให้สงบในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้นำ