สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) เปิดเผยวันนี้ว่า มีประชาชนอพยพออกจากซีเรีย เพื่อหนีภัยสงครามกลางเมืองราว 1 ล้านคน สร้างความกดดันแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งพยายามให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้
ยูเอ็นเอชซีอาร์ ระบุว่า จำนวนชาวซีเรียที่อพยพออกนอกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้อพยพกว่า 400,000 คนนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 11 ปี ประเทศที่ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เดินทางไปได้แก่ เลบานอน จอร์แดน ตุรกี อิรัก และอียิปต์ บางคนเดินทางไปยังแอฟริกาเหนือและยุโรป โดยเดินทางมาถึงในสภาพจิตใจบอบช้ำ ไม่มีสมบัติใดๆ และสูญเสียสมาชิกในครอบครัว
ทั้งนี้ เลบานอนซึ่งอยู่ใกล้กรุงดามัสกัสของซีเรียที่ยังคงมีการต่อสู้กันอยู่ เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เล็กที่สุดแต่รับผู้อพยพจำนวนมากที่สุด โดยขณะนี้ประชาชน 1 ใน 5 คนของเลบานอนเป็นชาวซีเรีย
ข้อมูลจากยูเอ็นเอชซีอาร์ ระบุว่า จำนวนผู้อพยพที่หลั่งไหลเข้าไปในเลบานอนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4,400 คน ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันในจอร์แดน การให้บริการด้านพลังงาน น้ำดื่ม สาธารณสุขและการศึกษากำลังจะถึงขีดจำกัด ส่วนตุรกีใช้เงินกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 18,000 ล้านบาท) ในการตั้งค่ายลี้ภัย 17 แห่ง ซึ่งยังมีที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ยูเอ็นเอชซีอาร์ กล่าวว่า แม้ว่าผู้บริจาคจากนานาชาติได้ให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 45,000 ล้านบาท) สนับสนุนแผนช่วยเหลือของยูเอ็น เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพชาวซีเรีย แต่ขณะนี้ระดมทุนได้เพียงร้อยละ 25 เท่านั้น
ยูเอ็นเอชซีอาร์ ระบุว่า จำนวนชาวซีเรียที่อพยพออกนอกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้อพยพกว่า 400,000 คนนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 11 ปี ประเทศที่ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เดินทางไปได้แก่ เลบานอน จอร์แดน ตุรกี อิรัก และอียิปต์ บางคนเดินทางไปยังแอฟริกาเหนือและยุโรป โดยเดินทางมาถึงในสภาพจิตใจบอบช้ำ ไม่มีสมบัติใดๆ และสูญเสียสมาชิกในครอบครัว
ทั้งนี้ เลบานอนซึ่งอยู่ใกล้กรุงดามัสกัสของซีเรียที่ยังคงมีการต่อสู้กันอยู่ เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เล็กที่สุดแต่รับผู้อพยพจำนวนมากที่สุด โดยขณะนี้ประชาชน 1 ใน 5 คนของเลบานอนเป็นชาวซีเรีย
ข้อมูลจากยูเอ็นเอชซีอาร์ ระบุว่า จำนวนผู้อพยพที่หลั่งไหลเข้าไปในเลบานอนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4,400 คน ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันในจอร์แดน การให้บริการด้านพลังงาน น้ำดื่ม สาธารณสุขและการศึกษากำลังจะถึงขีดจำกัด ส่วนตุรกีใช้เงินกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 18,000 ล้านบาท) ในการตั้งค่ายลี้ภัย 17 แห่ง ซึ่งยังมีที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ยูเอ็นเอชซีอาร์ กล่าวว่า แม้ว่าผู้บริจาคจากนานาชาติได้ให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 45,000 ล้านบาท) สนับสนุนแผนช่วยเหลือของยูเอ็น เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพชาวซีเรีย แต่ขณะนี้ระดมทุนได้เพียงร้อยละ 25 เท่านั้น