นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ อดีตประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย กล่าวถึงโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ที่จะสิ้นสุดโครงการลงในวันที่ 31 มีนาคมนี้ว่า ผลของโครงการแทรกแซงทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น และการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ อยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาท ยังสูงกว่าประเทศมาเลเซียที่เก็บเพียงกิโลกรัมละ 1.40 บาท ขณะที่อินโดนีเซียไม่มีการเก็บ จึงมองว่าอนาคตไทยอาจเสียตลาดการส่งออกให้กับประเทศคู่แข่ง เช่นเดียวกับโครงการับจำนำข้าว
ทั้งนี้หากรัฐบาลมีแนวคิดระบายยางพาราช่วงนี้ จะขาดทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินแทรกแซง เนื่องจากปัจจุบันราคายางแผ่นดิบในตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 78 บาท ขณะที่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 กิโลกรัมละ 82 บาท ต่างจากราคาแทรกแซงประมาณกิโลกรัมละ 30 บาท
ด้าน นายจารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า การระบายยางพาราของรัฐสามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ โดยไม่ต้องเร่งรีบเนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรที่เก็บได้นานกว่าชนิดอื่น และขณะนี้ความต้องการในตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อาจทำให้ระบายได้น้อยและราคาต่ำ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อรองรับปริมาณยางในสต๊อกของรัฐเป็นหนทางหนึ่ง ที่จะเพิ่มมูลค่ายางภายในประเทศได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาตลาดโลก
ทั้งนี้หากรัฐบาลมีแนวคิดระบายยางพาราช่วงนี้ จะขาดทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินแทรกแซง เนื่องจากปัจจุบันราคายางแผ่นดิบในตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 78 บาท ขณะที่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 กิโลกรัมละ 82 บาท ต่างจากราคาแทรกแซงประมาณกิโลกรัมละ 30 บาท
ด้าน นายจารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า การระบายยางพาราของรัฐสามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ โดยไม่ต้องเร่งรีบเนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรที่เก็บได้นานกว่าชนิดอื่น และขณะนี้ความต้องการในตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อาจทำให้ระบายได้น้อยและราคาต่ำ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อรองรับปริมาณยางในสต๊อกของรัฐเป็นหนทางหนึ่ง ที่จะเพิ่มมูลค่ายางภายในประเทศได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาตลาดโลก