นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการปฏิบัติการฝนหลวงแก้ภัยแล้งประจำปี 2556 ณ สนามบินนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ว่า ขณะนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้เริ่มดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฝนหลวงประจำปี 2556 แล้ว โดยจะทยอยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 5 ภาค เพื่อปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนเก็บน้ำต่างๆ และบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้ง รวมถึงปัญหาไฟป่าและหมอกควันในภาคเหนือตั้งแต่เดือนมีนาคม ไปจนถึงสิ้นสุดฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคมนี้ จนครบ 10 หน่วย ประกอบด้วย ภาคเหนือ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดเชียงใหม่ และพิษณุโลก
ภาคกลาง ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดกาญจนบุรี และนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคตะวันออก ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดจันทบุรี และระยองภาคใต้ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดสงขลา และประจวบคีรีขันธ์ โดยมีจำนวนเครื่องบินที่พร้อมปฏิบัติการทั้งสิ้น 34 เครื่อง เป็นของกระทรวงเกษตรฯ 26 เครื่อง และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ 8 เครื่อง
นอกจากนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังได้ตั้งอาสาสมัครฝนหลวงเป็นเครือข่ายการประสานข่าวสารข้อมูลกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงประชาชนยังสามารถขอฝนหลวงในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งมายัง Call Center 1170 ของกระทรวงเกษตรฯ อีกทางหนึ่งด้วย
ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯ ยังได้รับความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนภารกิจในการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กองทัพอากาศกองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริษัทวิทยุการบิน การท่าอากาศยานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
นายยุคล กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ถึงแม้ว่าผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค แต่กระทรวงเกษตรฯ ก็ไม่ได้นิ่งดูดาย โดยได้มีการประชุมติดตามสถานการณ์และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งรวมทั้งหมอกควันมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการแจ้งเตือนเกษตรกรให้จำกัดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง มีการบริหารจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในเขตชลประทาน และต้องถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสียสละทุ่มเทในการประดิษฐ์คิดค้น วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงจนประสบความสำเร็จ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำเทคโนโลยีฝนหลวงของพระองค์มาดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่รอคอยน้ำฝน และพื้นที่ในเขตชลประทานที่ต้องอาศัยน้ำต้นทุนที่เก็บกักไว้ในเขื่อนต่างๆ
นายยุคล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังไม่ได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งและเย็น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในระดับที่เกิดเมฆยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่สามารถทำฝนได้ ประกอบกับการทำนาปรังในเขตชลประทานยังมีน้ำเพียงพอ และการทำนาปรังนอกเขตชลประทานยังมีน้อย ปัญหาที่สำคัญคือมีพื้นที่ในหลายจังหวัดยังไม่ต้องการฝนเนื่องจากมีพืชบางชนิดอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น หอม กระเทียม อ้อย ยาสูบ และมันสำปะหลัง
อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งหน่วยบินฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วไว้ที่สนามบินนครสวรรค์ จำนวน 3 หน่วย ที่พร้อมบินไปปฏิบัติการฝนหลวงที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคต่างๆ ได้ทันทีที่มีการร้องขอ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการส่งหน่วยบินฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วไปปฏิบัติการสลายหมอกควันจำนวน 2 ครั้ง คือในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ขึ้นบินทำฝนหลวง 8 วัน มีฝนตกทั้ง 8 วัน ทำให้ค่าฝุ่นละอองในอากาศอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่อันตรายต่อสุขภาพ และยังช่วยบรรเทาภัยแล้งในหลายพื้นที่อีกด้วย
ภาคกลาง ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดกาญจนบุรี และนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคตะวันออก ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดจันทบุรี และระยองภาคใต้ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดสงขลา และประจวบคีรีขันธ์ โดยมีจำนวนเครื่องบินที่พร้อมปฏิบัติการทั้งสิ้น 34 เครื่อง เป็นของกระทรวงเกษตรฯ 26 เครื่อง และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ 8 เครื่อง
นอกจากนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังได้ตั้งอาสาสมัครฝนหลวงเป็นเครือข่ายการประสานข่าวสารข้อมูลกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงประชาชนยังสามารถขอฝนหลวงในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งมายัง Call Center 1170 ของกระทรวงเกษตรฯ อีกทางหนึ่งด้วย
ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯ ยังได้รับความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนภารกิจในการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กองทัพอากาศกองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริษัทวิทยุการบิน การท่าอากาศยานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
นายยุคล กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ถึงแม้ว่าผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค แต่กระทรวงเกษตรฯ ก็ไม่ได้นิ่งดูดาย โดยได้มีการประชุมติดตามสถานการณ์และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งรวมทั้งหมอกควันมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการแจ้งเตือนเกษตรกรให้จำกัดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง มีการบริหารจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในเขตชลประทาน และต้องถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสียสละทุ่มเทในการประดิษฐ์คิดค้น วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงจนประสบความสำเร็จ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำเทคโนโลยีฝนหลวงของพระองค์มาดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่รอคอยน้ำฝน และพื้นที่ในเขตชลประทานที่ต้องอาศัยน้ำต้นทุนที่เก็บกักไว้ในเขื่อนต่างๆ
นายยุคล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังไม่ได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งและเย็น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในระดับที่เกิดเมฆยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่สามารถทำฝนได้ ประกอบกับการทำนาปรังในเขตชลประทานยังมีน้ำเพียงพอ และการทำนาปรังนอกเขตชลประทานยังมีน้อย ปัญหาที่สำคัญคือมีพื้นที่ในหลายจังหวัดยังไม่ต้องการฝนเนื่องจากมีพืชบางชนิดอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น หอม กระเทียม อ้อย ยาสูบ และมันสำปะหลัง
อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งหน่วยบินฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วไว้ที่สนามบินนครสวรรค์ จำนวน 3 หน่วย ที่พร้อมบินไปปฏิบัติการฝนหลวงที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคต่างๆ ได้ทันทีที่มีการร้องขอ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการส่งหน่วยบินฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วไปปฏิบัติการสลายหมอกควันจำนวน 2 ครั้ง คือในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ขึ้นบินทำฝนหลวง 8 วัน มีฝนตกทั้ง 8 วัน ทำให้ค่าฝุ่นละอองในอากาศอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่อันตรายต่อสุขภาพ และยังช่วยบรรเทาภัยแล้งในหลายพื้นที่อีกด้วย