นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังคณะผู้บริหารองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) เข้าพบในวันนี้ (20 ก.พ.) โดยกล่าวถึงแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามแผนของรัฐบาลว่า เน้นการกู้เงินจากในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในไทยยังมีมาก และเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่วนการกู้เงินจากต่างประเทศจะพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนในการกู้
นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อไปว่า การที่ผู้บริหารไจกามาพบในครั้งนี้ เนื่องจากไจกาจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการลงทุนในไทย ซึ่งจะนำผลการศึกษาของไจกาที่มีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้มาหารือ โดยเชิญผู้ยื่นประมูลจากทุกฝ่าย และทุกกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้อง มาหารือร่วมกัน เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบแนวคิดกับสิ่งที่ไจกาได้ดำเนินการไป เป็นการปรับรายละเอียดให้เข้ากับแนวทางการศึกษาของไจกา เพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประมูลทุกฝ่าย
นอกจากนี้ ได้หารือถึงสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน โดยเฉพาะเรื่องหนี้ต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้สามารถชำระเงินกู้ได้ก่อนกำหนด ถ้าสามารถทำได้ ซึ่งในส่วนหนี้ต่างประเทศปัจจุบันมีไม่มาก โดยมีอยู่ไม่เกิน 1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 2 ล้านล้านบาท รองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทยใน 7 ปีข้างหน้า ตามแผนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)
นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อไปว่า การที่ผู้บริหารไจกามาพบในครั้งนี้ เนื่องจากไจกาจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการลงทุนในไทย ซึ่งจะนำผลการศึกษาของไจกาที่มีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้มาหารือ โดยเชิญผู้ยื่นประมูลจากทุกฝ่าย และทุกกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้อง มาหารือร่วมกัน เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบแนวคิดกับสิ่งที่ไจกาได้ดำเนินการไป เป็นการปรับรายละเอียดให้เข้ากับแนวทางการศึกษาของไจกา เพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประมูลทุกฝ่าย
นอกจากนี้ ได้หารือถึงสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน โดยเฉพาะเรื่องหนี้ต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้สามารถชำระเงินกู้ได้ก่อนกำหนด ถ้าสามารถทำได้ ซึ่งในส่วนหนี้ต่างประเทศปัจจุบันมีไม่มาก โดยมีอยู่ไม่เกิน 1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 2 ล้านล้านบาท รองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทยใน 7 ปีข้างหน้า ตามแผนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)