นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับกระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม เกี่ยวกับปัญหาการติดตั้งถังก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในรถยนต์ที่ไม่ได้มาตรฐานจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายครั้งช่วงที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าในอนาคตรัฐบาลจะไม่สนับสนุนการติดตั้งถังแอลพีจี โดยกรมการขนส่งทางบกจะไม่ออกใบอนุญาตให้ เพราะเป็นการดัดแปลงไปใช้เชื้อเพลิงที่เป็นอันตราย ขณะที่ปัจจุบันระหว่างที่ยังอนุญาตอยู่ ทั้ง 3 กระทรวงจะทำงานอย่างบูรณาการ เพื่อดูแลมาตรฐานรถยนต์ที่ติดตั้งแอลพีจีอย่างเข้มงวด
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า นโยบายยกเลิกการอนุญาตให้ติดตั้งแอลพีจีในรถยนต์จะทำควบคู่กับการสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ก๊าซที่อันตรายน้อยกว่าคือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) โดยกระทรวงจะเร่งรัดนโยบายขยายท่อก๊าซจากแนวท่อก๊าซที่มีอยู่เดิม เพื่อเอื้อต่อการตั้งสถานีบริการปั๊มเอ็นจีวี และจะสนับสนุนให้เอกชนลงทุนปั๊มเอ็นจีวีมากขึ้น โดยจะสามารถซื้อก๊าซจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในราคาเดียวกับที่ขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อจำหน่าย ราว 11 บาทต่อกิโลกรัม
พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า หากยกเลิกรถติดแอลพีจีจริง เบื้องต้นคาดว่าจะให้รถยนต์ที่ต้องการใช้ก๊าซหันมาติดเอ็นจีวีแทนการติดแอลพีจี ซึ่งจะเป็นการยกเลิกเครื่องยนต์ที่ใช้แอลพีจีไปโดยอัตโนมัติ แต่รถที่ติดแอลพีจีแล้ว ยังสามารถใช้งานได้ต่อไปจนกว่าเครื่องยนต์จะหมดอายุการใช้งาน และในอนาคตองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีมาให้บริการอีกประมาณ 3,000 กว่าคัน ซึ่งการปรับให้เป็นเครื่องยนต์เดียวกันทั้งหมดน่าจะส่งผลดีในเรื่องของความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท รัฐบาลยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องคาดว่า จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ โดยจะดูถึงความเป็นไปได้ในการจัดซื้อแบบจีทูจี และคาดว่าจะจัดซื้อได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปีนี้
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า นโยบายยกเลิกการอนุญาตให้ติดตั้งแอลพีจีในรถยนต์จะทำควบคู่กับการสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ก๊าซที่อันตรายน้อยกว่าคือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) โดยกระทรวงจะเร่งรัดนโยบายขยายท่อก๊าซจากแนวท่อก๊าซที่มีอยู่เดิม เพื่อเอื้อต่อการตั้งสถานีบริการปั๊มเอ็นจีวี และจะสนับสนุนให้เอกชนลงทุนปั๊มเอ็นจีวีมากขึ้น โดยจะสามารถซื้อก๊าซจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในราคาเดียวกับที่ขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อจำหน่าย ราว 11 บาทต่อกิโลกรัม
พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า หากยกเลิกรถติดแอลพีจีจริง เบื้องต้นคาดว่าจะให้รถยนต์ที่ต้องการใช้ก๊าซหันมาติดเอ็นจีวีแทนการติดแอลพีจี ซึ่งจะเป็นการยกเลิกเครื่องยนต์ที่ใช้แอลพีจีไปโดยอัตโนมัติ แต่รถที่ติดแอลพีจีแล้ว ยังสามารถใช้งานได้ต่อไปจนกว่าเครื่องยนต์จะหมดอายุการใช้งาน และในอนาคตองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีมาให้บริการอีกประมาณ 3,000 กว่าคัน ซึ่งการปรับให้เป็นเครื่องยนต์เดียวกันทั้งหมดน่าจะส่งผลดีในเรื่องของความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท รัฐบาลยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องคาดว่า จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ โดยจะดูถึงความเป็นไปได้ในการจัดซื้อแบบจีทูจี และคาดว่าจะจัดซื้อได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปีนี้