นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนา "โจทย์ท้าทายอนาคตเศรษฐกิจไทยปี 2556" ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ โดยระบุว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ถือเป็นความท้าทายที่ผู้บริหารเศรษฐกิจต้องบริหารให้มีเสถียรภาพ โดยประเทศไทยจะใช้โอกาสนี้ในการลงทุนเพื่อให้เกิดความสมดุลของค่าเงิน ทั้งการไหลเข้าและไหลออก
ขณะที่ภาคเอกชนต้องปรับตัว โดยการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต
ทั้งนี้ เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะสามารถดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะรัฐบาลมีหน้าที่เพียงบริหารความสมดุลของค่าเงิน ซึ่งขณะนี้พบว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่า ยังอยู่ในระดับเดียวกับภูมิภาค
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2556 ปรับตัวดีขึ้น โดยกำลังซื้อในประเทศดีขึ้น มีการลงทุนภาครัฐและเอกชน ขณะที่หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลจึงสามารถลงทุนให้ประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน ขณะที่ภาคการส่งออกก็ยังปรับตัวดีขึ้นได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แสดงความเป็นห่วงระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะเพิ่มขึ้น ระหว่างปี 2555-2562 มาอยู่ที่ร้อยละ 53.8 จากเดิมเมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 43.9 โดยมาจากนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาล เช่น วงเงินคืนภาษีสรรพสามิต 60,000 ล้านบาท หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 199,000 ล้านบาท และการเพิ่มทุนธนาคารเฉพาะกิจ 100,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 5,000 ล้านบาท
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุว่า รัฐบาลไม่มีวินัยทางการคลังเท่าที่ควร มีการหาเสียงด้วยวิธีที่มักง่าย โดยใช้นโยบายประชานิยม ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น เช่น นโยบายรถยนต์คันแรก นโยบายจำนำข้าว เรียกได้ว่าขาดหิริโอตัปปะ ขาดความละอายต่อบาป ขาดสำนึกในการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นจริยธรรมในการบริหารงาน
อย่างไรก็ตาม มองว่าไทยยังมีโอกาสการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งภูมิศาสตร์ รวมทั้งผลิตสินค้าคุณภาพ เช่น อาหารทะเล อัญมณี ยางพารา และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไทยจะต้องเร่งขยายฐานการผลิตสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำของโลก รวมทั้งขยายการค้า ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน
ขณะที่ภาคเอกชนต้องปรับตัว โดยการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต
ทั้งนี้ เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะสามารถดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะรัฐบาลมีหน้าที่เพียงบริหารความสมดุลของค่าเงิน ซึ่งขณะนี้พบว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่า ยังอยู่ในระดับเดียวกับภูมิภาค
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2556 ปรับตัวดีขึ้น โดยกำลังซื้อในประเทศดีขึ้น มีการลงทุนภาครัฐและเอกชน ขณะที่หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลจึงสามารถลงทุนให้ประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน ขณะที่ภาคการส่งออกก็ยังปรับตัวดีขึ้นได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แสดงความเป็นห่วงระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะเพิ่มขึ้น ระหว่างปี 2555-2562 มาอยู่ที่ร้อยละ 53.8 จากเดิมเมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 43.9 โดยมาจากนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาล เช่น วงเงินคืนภาษีสรรพสามิต 60,000 ล้านบาท หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 199,000 ล้านบาท และการเพิ่มทุนธนาคารเฉพาะกิจ 100,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 5,000 ล้านบาท
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุว่า รัฐบาลไม่มีวินัยทางการคลังเท่าที่ควร มีการหาเสียงด้วยวิธีที่มักง่าย โดยใช้นโยบายประชานิยม ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น เช่น นโยบายรถยนต์คันแรก นโยบายจำนำข้าว เรียกได้ว่าขาดหิริโอตัปปะ ขาดความละอายต่อบาป ขาดสำนึกในการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นจริยธรรมในการบริหารงาน
อย่างไรก็ตาม มองว่าไทยยังมีโอกาสการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งภูมิศาสตร์ รวมทั้งผลิตสินค้าคุณภาพ เช่น อาหารทะเล อัญมณี ยางพารา และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไทยจะต้องเร่งขยายฐานการผลิตสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำของโลก รวมทั้งขยายการค้า ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน