น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของธนาคารโลกในปีนี้ จะขยายตัวร้อยละ 5 มากกว่าปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากการฟื้นตัวในภาคการผลิต หลังวิกฤตอุทกภัย ปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกลดต่ำลง ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.5 มากกว่าปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 3 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 15 จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เป็นแรงส่งการขยายตัวจีดีพีในปีนี้
ทั้งนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวช้า เติบโตเพียงร้อยละ 2.4 อาจกระทบภาคการค้า ราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง กระทบรายได้เกษตรกร และยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการล่าช้า เบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อใช้บริหารจัดการน้ำ 60,000 ล้านบาท ผลกระทบจากนโยบายรัฐ อาทิ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยเสี่ยงความไม่แน่นอนทางการเมือง
ส่วนปัญหาหนี้สาธารณะของไทยที่อาจจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของจีดีพี เชื่อว่าไม่กระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ
ทั้งนี้ ธนาคารโลกเสนอแนะให้มีประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มรายได้ต่อหัวของประชากร และสร้างความสามารถทางการคลังสะสมไว้ เพื่อรองรับหากเกิดวิกฤต
ทั้งนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวช้า เติบโตเพียงร้อยละ 2.4 อาจกระทบภาคการค้า ราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง กระทบรายได้เกษตรกร และยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการล่าช้า เบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อใช้บริหารจัดการน้ำ 60,000 ล้านบาท ผลกระทบจากนโยบายรัฐ อาทิ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยเสี่ยงความไม่แน่นอนทางการเมือง
ส่วนปัญหาหนี้สาธารณะของไทยที่อาจจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของจีดีพี เชื่อว่าไม่กระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ
ทั้งนี้ ธนาคารโลกเสนอแนะให้มีประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มรายได้ต่อหัวของประชากร และสร้างความสามารถทางการคลังสะสมไว้ เพื่อรองรับหากเกิดวิกฤต