นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่องผลกระทบปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท และข้อเสนอแนะมาตรการช่วยเหลือของภาคเอกชน จากการสำรวจผลกระทบของสมาชิกกว่า 400 ราย และ 20 สมาคม พบว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-12 ต่างจากที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประเมินว่ามีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.5-6 โดยอุตสาหกรรมขนาดกลาง ที่มีการจ้างงาน 100-200 คน ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงร้อยละ 40-50 และส่วนใหญ่ร้อยละ 56 เป็นอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.67 เห็นว่าไม่สามารถช่วยลดผลกระทบได้ แต่ผู้ประกอบการร้อยละ 64.44 ยังสามารถประคองธุรกิจได้ และมีเพียงร้อยละ 24.44 ที่มีโอกาสปิดกิจการ
ส่วนการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.82 ยังไม่มีนโยบายย้ายฐานการผลิต มีเพียงร้อยละ 18.18 ที่มีแนวคิดย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการช่วยเหลือ อาทิ การจัดตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมลงร้อยละ 2
ส่วนการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.82 ยังไม่มีนโยบายย้ายฐานการผลิต มีเพียงร้อยละ 18.18 ที่มีแนวคิดย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการช่วยเหลือ อาทิ การจัดตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมลงร้อยละ 2