นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการหารือระหว่างรัฐบาลไทยกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นให้ความสนใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย โดยเฉพาะงานเกี่ยวข้องกับระบบขนส่ง เช่น รถไฟความเร็วสูง ซึ่งไทยเคยประกาศว่าขอโครงการดังกล่าว จะเปิดประมูลลักษณะอินเตอร์เนชั่นแนลบิท เปิดกว้างให้ทุกประเทศที่สนใจและมีความพร้อม เข้าประมูลโครงการซึ่งญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมประมูลได้
สำหรับภาพรวมรถไฟความเร็วสูงที่ไทยดำเนินการ 4 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ระยอง และ กรุงเทพฯ-หัวหินนั้น ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้จะสามารถออกทีโออาร์ ประกวดราคาในส่วนของงานก่อสร้างระบบอาณัติสัญญาณและจัดหาตัวรถ ส่วนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความสนใจเข้าลงทุนนั้นในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาร์แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่า สนใจให้ดึงญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งญี่ปุ่นสามารถลงทุนใน 2 รูปแบบ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรม โดยในการลงทุนทวายจะมีความชัดเจน เดือนมีนาคมนี้
สำหรับภาพรวมรถไฟความเร็วสูงที่ไทยดำเนินการ 4 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ระยอง และ กรุงเทพฯ-หัวหินนั้น ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้จะสามารถออกทีโออาร์ ประกวดราคาในส่วนของงานก่อสร้างระบบอาณัติสัญญาณและจัดหาตัวรถ ส่วนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความสนใจเข้าลงทุนนั้นในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาร์แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่า สนใจให้ดึงญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งญี่ปุ่นสามารถลงทุนใน 2 รูปแบบ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรม โดยในการลงทุนทวายจะมีความชัดเจน เดือนมีนาคมนี้