นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คดีพิพาทปราสาทพระวิหารที่พัฒนาการมาถึงวันนี้ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชามีปัจจัยสำคัญ 5 ข้อ คือ 1.รัฐบาลพรรคพลังประชาชนลงนามในแถลงการณ์ร่วมยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวในปี 2551
2. เมื่อศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเป็นร่างหนังสือสัญญา ทำให้ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนั้นต้องหลุดจากตำแหน่ง เพราะศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า หนังสือฉบับดังกล่าวมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ และกระทบอธิปไตย
3. หลังขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก กัมพูชาได้ทำแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบจนกินพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร
4.กัมพูชาเตรียมจัดประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กัมพูชา ซึ่งจะมีการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร และเสนอพื้นที่กันชนโดยรอบปราสาท เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกประทับตรารับรอง การกระทำดังกล่าวจะใช้เวทีโลกกดดันฝ่ายไทย
5.ถ้ากัมพูชาสามารถทำตามข้อ 4 ได้สำเร็จ ประมาณเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน จะมีการประชุมศาลโลก เพื่อพิพากษาคำร้องของกัมพูชา ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่กัมพูชาหวังเอาชนะไทยอย่างเบ็ดเสร็จ
นายชวนนท์ กล่าวต่อไปว่า หากรัฐบาลอ้างว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา ขอให้หยุดขั้นตอนเหล่านี้ให้ได้ และหันมาร่วมมือกับประชาชน ป้องกันและขัดขวางไม่ให้กัมพูชาทำสำเร็จ สิ่งที่ตนขอเรียกร้องเพียงข้อเดียวคือ รัฐบาลไทยทำหนังสือส่งไปยังคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก หากไม่ลาออกวันนี้ ในช่วงกลางปีและสิ้นปีนี้เราจะเสียหายในคดีปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบอย่างแน่นอน หากรัฐบาลไม่ทำ ขอตั้งคำถามว่าสงสัยให้แผนของกัมพูชาสำเร็จหรือไม่ และการที่กัมพูชาอภัยโทษให้น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ และลดโทษให้กับ นายวีระ สมความคิด ว่า เราทุกคนเฝ้ารอการกลับมาของทั้งสองคน และไม่ควรหยิบยกประเด็นนี้มาเป็นประเด็นการเมือง ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม
2. เมื่อศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเป็นร่างหนังสือสัญญา ทำให้ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนั้นต้องหลุดจากตำแหน่ง เพราะศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า หนังสือฉบับดังกล่าวมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ และกระทบอธิปไตย
3. หลังขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก กัมพูชาได้ทำแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบจนกินพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร
4.กัมพูชาเตรียมจัดประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กัมพูชา ซึ่งจะมีการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร และเสนอพื้นที่กันชนโดยรอบปราสาท เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกประทับตรารับรอง การกระทำดังกล่าวจะใช้เวทีโลกกดดันฝ่ายไทย
5.ถ้ากัมพูชาสามารถทำตามข้อ 4 ได้สำเร็จ ประมาณเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน จะมีการประชุมศาลโลก เพื่อพิพากษาคำร้องของกัมพูชา ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่กัมพูชาหวังเอาชนะไทยอย่างเบ็ดเสร็จ
นายชวนนท์ กล่าวต่อไปว่า หากรัฐบาลอ้างว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา ขอให้หยุดขั้นตอนเหล่านี้ให้ได้ และหันมาร่วมมือกับประชาชน ป้องกันและขัดขวางไม่ให้กัมพูชาทำสำเร็จ สิ่งที่ตนขอเรียกร้องเพียงข้อเดียวคือ รัฐบาลไทยทำหนังสือส่งไปยังคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก หากไม่ลาออกวันนี้ ในช่วงกลางปีและสิ้นปีนี้เราจะเสียหายในคดีปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบอย่างแน่นอน หากรัฐบาลไม่ทำ ขอตั้งคำถามว่าสงสัยให้แผนของกัมพูชาสำเร็จหรือไม่ และการที่กัมพูชาอภัยโทษให้น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ และลดโทษให้กับ นายวีระ สมความคิด ว่า เราทุกคนเฝ้ารอการกลับมาของทั้งสองคน และไม่ควรหยิบยกประเด็นนี้มาเป็นประเด็นการเมือง ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม