ในวันนี้ (7 ม.ค.) สภาอุตสาหกรรมประจำ 5 ภาคประชุมหารือเพื่อเพิ่มมาตรการนำเสนอรัฐบาล ในการเยียวยาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่า มาตรการใหม่ 5 มาตรการที่กระทรวงแรงงานประกาศก่อนหน้านี้ไม่ตรงจุด เช่น การตั้งคลินิกยกระดับฝีมือแรงงาน การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2
นายธนิต ระบุว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการคือให้รัฐตั้งกองทุนเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง
ด้านหอการค้าจังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปรับค่าแรงมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 80 ระบุว่า ขณะนี้ภาคเอกชนหลายแห่งปรับตัวโดยเริ่มลดจำนวนแรงงานลง
โดย นายธีระศักดิ์ สิทธิชัยธนะกิจ เลขาธิการหอการค้าพะเยา ระบุว่า ธุรกิจในกลุ่มท่องเที่ยวน่าเป็นห่วงที่สุด ซึ่งเริ่มจะลดแรงงาน และภาคธุรกิจรอมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ชัดเจน
ด้าน นายชวลิต สุธรรมวงศ์ หอการค้า จ.เชียงราย ระบุว่า ต้องการให้รัฐชะลอบังคับใช้กฎหมายเอาผิดกับผู้ประกอบการที่ยังไม่ปรับขึ้นค่าแรง โดยขอให้รัฐบาลประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน และมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือ โดยอาจจะปรับเพิ่มค่าแรงต่างกัน ในกลุ่มแรงงานใช้ทักษะและไร้ทักษะ ซึ่งนอกจากเชียงรายจะประสบปัญหาค่าแรงแล้ว ยังประสบปัญหาแรงงานต่างด้านขาดแคลน
ขณะที่ นายกฤษณะ เอี่ยมวงศ์นที กรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ กล่าวว่า กลุ่มสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ 14 จังหวัด จะนัดหารือผลกระทบและแนวทางรับมือ ในวันพรุ่งนี้ (8 ม.ค.) หลังพบปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ จ.ระนอง ที่มีข้อสรุปตรงกันว่า ไม่พร้อมปรับขึ้นค่าจ้างอัตราดังกล่าว และในวันพรุ่งนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ โดยเสนอ 5 มาตรการใหม่ แต่ไม่มีมาตรการเรื่องจัดตั้งกองทุน เพื่อชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง
นายธนิต ระบุว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการคือให้รัฐตั้งกองทุนเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง
ด้านหอการค้าจังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปรับค่าแรงมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 80 ระบุว่า ขณะนี้ภาคเอกชนหลายแห่งปรับตัวโดยเริ่มลดจำนวนแรงงานลง
โดย นายธีระศักดิ์ สิทธิชัยธนะกิจ เลขาธิการหอการค้าพะเยา ระบุว่า ธุรกิจในกลุ่มท่องเที่ยวน่าเป็นห่วงที่สุด ซึ่งเริ่มจะลดแรงงาน และภาคธุรกิจรอมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ชัดเจน
ด้าน นายชวลิต สุธรรมวงศ์ หอการค้า จ.เชียงราย ระบุว่า ต้องการให้รัฐชะลอบังคับใช้กฎหมายเอาผิดกับผู้ประกอบการที่ยังไม่ปรับขึ้นค่าแรง โดยขอให้รัฐบาลประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน และมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือ โดยอาจจะปรับเพิ่มค่าแรงต่างกัน ในกลุ่มแรงงานใช้ทักษะและไร้ทักษะ ซึ่งนอกจากเชียงรายจะประสบปัญหาค่าแรงแล้ว ยังประสบปัญหาแรงงานต่างด้านขาดแคลน
ขณะที่ นายกฤษณะ เอี่ยมวงศ์นที กรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ กล่าวว่า กลุ่มสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ 14 จังหวัด จะนัดหารือผลกระทบและแนวทางรับมือ ในวันพรุ่งนี้ (8 ม.ค.) หลังพบปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ จ.ระนอง ที่มีข้อสรุปตรงกันว่า ไม่พร้อมปรับขึ้นค่าจ้างอัตราดังกล่าว และในวันพรุ่งนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ โดยเสนอ 5 มาตรการใหม่ แต่ไม่มีมาตรการเรื่องจัดตั้งกองทุน เพื่อชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง