นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และการเตรียมพร้อมของเอสเอ็มอีใน 70 จังหวัด ที่จะต้องปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทในปีหน้า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,300 ราย ใน 21 จังหวัด พบกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 800,000 ถึง 1 ล้านราย อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและยังไม่พร้อมรับมือการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งน่าเป็นห่วง เพราะว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการจ้างงานรวมของประเทศ โดยคาดว่าจะมีแรงงานตกงานถึง 6.4 แสนคน ที่ไหลไปยังภาคเกษตร โดย 5.1 แสนคน ไหลออกจากภาคอุตสาหกรรมโรงแรม และบริการ
ส่วนแนวทางปรับตัวที่ภาคธุรกิจใช้ในปีหน้าพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 86 เลื่อนการจ้างงานเพิ่ม ร้อยละ 84 ลดงบลงทุนระยะยาว ร้อยละ 65 ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และร้อยละ 57 ปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ
ทั้งนี้ เสียงสะท้อนของผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 62 เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบการ เป็นมาตรการที่ได้ผลดีที่สุด โดยการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างควรทำแบบขั้นบันได โดยเงินชดเชยต่อคนต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 75 บาท มีระยะเวลาประมาณ 3 ปี หากในปีแรกรัฐช่วยรับภาระร้อยละ 75 จะใช้งบประมาณ 71,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่ต้องใช้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า มีประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับที่ยอมรับได้ ที่จะผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว
ส่วนแนวทางปรับตัวที่ภาคธุรกิจใช้ในปีหน้าพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 86 เลื่อนการจ้างงานเพิ่ม ร้อยละ 84 ลดงบลงทุนระยะยาว ร้อยละ 65 ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และร้อยละ 57 ปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ
ทั้งนี้ เสียงสะท้อนของผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 62 เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบการ เป็นมาตรการที่ได้ผลดีที่สุด โดยการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างควรทำแบบขั้นบันได โดยเงินชดเชยต่อคนต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 75 บาท มีระยะเวลาประมาณ 3 ปี หากในปีแรกรัฐช่วยรับภาระร้อยละ 75 จะใช้งบประมาณ 71,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่ต้องใช้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า มีประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับที่ยอมรับได้ ที่จะผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว