สภาพบริเวณชายหาดราชมงคล อ.สิเกา จ.ตรัง บางจุดอยู่ในสภาพถูกน้ำทะเลกัดเซาะเสียหาย ลึกเข้าไปยังพื้นดิน เช่นเดียวกับสะพานจุดชมวิวภายในมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังที่ระยะทางกว่า 800 เมตร และป่าโกงกางถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเสียหาย รากลอยเหนือพื้นดินอย่างเห็นได้ชัด
นายโกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาดบริเวณดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี โดยกัดเซาะชายเสียหายเกือบ 2 เมตรต่อปี และมีแนวโน้มวิกฤตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนสาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศโลก ซึ่งจากการคำนวณคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หากไม่มีการวางแนวป้องกันน้ำทะเลจะกัดเซาะมาจนถึงตัวถนนของมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน
นายโกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาดบริเวณดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี โดยกัดเซาะชายเสียหายเกือบ 2 เมตรต่อปี และมีแนวโน้มวิกฤตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนสาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศโลก ซึ่งจากการคำนวณคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หากไม่มีการวางแนวป้องกันน้ำทะเลจะกัดเซาะมาจนถึงตัวถนนของมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน