เช้าวันนี้ (22 ต.ค.) ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว อ.เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เป็นประธานในการปล่อยแตนเบียนนำร่องจำนวน 50,000 ตัว ที่บริเวณหน้าอาคารที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้กำจัดแมลงดำหนาม 4 ชนิด แก้ปัญหาศัตรูมะพร้าว โดยเกาะสมุยจะเป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีการกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ ในการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่เกาะสมุย ในวันนี้ มีเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ กระทรวงมหาดไทย ขออนุมัติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชีย ว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2557 มีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยร่วมสนับสนุนการดำเนินการ
กระทรวงคมนาคม เสนอของบผูกพันพัฒนาเส้นทางถนนในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ภายใต้กำกับดูแลของกรมทางหลวง จำนวน 9,450 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 4,570 ล้านบาท หากได้รับการอนุมัติ ก็จะทยอยก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติตามกรอบที่ กรอ.พิจารณาวานนี้ เกี่ยวกับการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย วงเงินเกือบ 20,000 ล้านบาท อาทิ การส่งเสริมพืชพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยส่วนของปาล์มน้ำมันนั้นจะจัดตั้งองค์กรมหาชน สถาบันวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ปี 2556-2560 ส่วนยางพารานั้น จะเพิ่มสมาชิกประเทศผู้ผลิตยางให้ครบ 8 ชาติในอาเซียน และจัดตั้งสภาการยางแห่งอาเซียน ภายในปี 2558 ด้วย
ขณะที่การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่เกาะสมุย ในวันนี้ มีเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ กระทรวงมหาดไทย ขออนุมัติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชีย ว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2557 มีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยร่วมสนับสนุนการดำเนินการ
กระทรวงคมนาคม เสนอของบผูกพันพัฒนาเส้นทางถนนในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ภายใต้กำกับดูแลของกรมทางหลวง จำนวน 9,450 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 4,570 ล้านบาท หากได้รับการอนุมัติ ก็จะทยอยก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติตามกรอบที่ กรอ.พิจารณาวานนี้ เกี่ยวกับการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย วงเงินเกือบ 20,000 ล้านบาท อาทิ การส่งเสริมพืชพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยส่วนของปาล์มน้ำมันนั้นจะจัดตั้งองค์กรมหาชน สถาบันวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ปี 2556-2560 ส่วนยางพารานั้น จะเพิ่มสมาชิกประเทศผู้ผลิตยางให้ครบ 8 ชาติในอาเซียน และจัดตั้งสภาการยางแห่งอาเซียน ภายในปี 2558 ด้วย