คณะกรรมการกำลังพลด้านสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับคณะอนุกรรมการสนับสนุนในการประชุมมติสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 63 ไปสู่การปฏิบัติ และภาคีระบบสุขภาพ ร่วมกันหารือ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม ให้กับระบบสุขภาพของไทย ในสถานการณ์ที่มีแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้น ในระบบสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
น.พ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของแรงงานข้ามชาติในระบบบริการสาธารณสุขของไทย เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำความเข้าใจ และรับทราบปัญหาความต้องการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งกลุ่มผู้ให้บริการภาครัฐ และภาคเอกชนที่ให้บริการสุขภาพกับแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มหลบหนีเข้าเมือง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค
ที่ประชุมมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นหรือไม่ ที่รัฐไทยต้องจัดบริการสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติ เพราะสถานบริการหลายแห่ง ต้องประสบวิกฤตทางการเงิน เมื่อต้องจัดบริการให้แรงงานข้ามชาติ ที่ไม่ได้จ่ายเงินสมทบเข้าสู่ระบบสุขภาพของไทย ซึ่งผู้ร่วมประชุมเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสุขภาพ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแรงงานข้ามชาติ ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง อีกทั้งแรงงานข้ามชาติ เป็นคนขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับบริการสุขภาพ ทำให้ภาระในการดูแลสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มนี้ต้องตกอยู่กับสถานพยาบาล จึงเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขต้องวางนโยบาย และแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการผลิตบุคคลากรต้องคำนวณโดยเอาตัวเลขของแรงงานข้ามชาติ มาเป็นส่วนหนึ่งของความต้องการรับบริการสุขภาพด้วย
ปัจจุบันระบบประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ให้สิทธิ เฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมายเท่านั้น ที่สามารถมีสิทธิในการประกันสุขภาพ ทำให้แรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่ง เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ
ทั้งนี้ ตัวเลขจากสำมะโนประชากร และการเคหะในปี 2553 ระบุว่า ประเทศไทยมีประชากรที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย ประมาณ 2.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เป็นแรงงานข้ามชาติ ส่วนใหญ่มาจากพม่า กัมพูชา และลาว แต่ตัวเลขจากนักวิจัยด้านประชากรศาสตร์ คาดการณ์ว่า แรงงานข้ามชาติทั้งที่ถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมายน่าจะมีอยู่ในไทยมากกว่า 4 ล้านคน
น.พ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของแรงงานข้ามชาติในระบบบริการสาธารณสุขของไทย เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำความเข้าใจ และรับทราบปัญหาความต้องการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งกลุ่มผู้ให้บริการภาครัฐ และภาคเอกชนที่ให้บริการสุขภาพกับแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มหลบหนีเข้าเมือง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค
ที่ประชุมมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นหรือไม่ ที่รัฐไทยต้องจัดบริการสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติ เพราะสถานบริการหลายแห่ง ต้องประสบวิกฤตทางการเงิน เมื่อต้องจัดบริการให้แรงงานข้ามชาติ ที่ไม่ได้จ่ายเงินสมทบเข้าสู่ระบบสุขภาพของไทย ซึ่งผู้ร่วมประชุมเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสุขภาพ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแรงงานข้ามชาติ ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง อีกทั้งแรงงานข้ามชาติ เป็นคนขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับบริการสุขภาพ ทำให้ภาระในการดูแลสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มนี้ต้องตกอยู่กับสถานพยาบาล จึงเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขต้องวางนโยบาย และแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการผลิตบุคคลากรต้องคำนวณโดยเอาตัวเลขของแรงงานข้ามชาติ มาเป็นส่วนหนึ่งของความต้องการรับบริการสุขภาพด้วย
ปัจจุบันระบบประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ให้สิทธิ เฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมายเท่านั้น ที่สามารถมีสิทธิในการประกันสุขภาพ ทำให้แรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่ง เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ
ทั้งนี้ ตัวเลขจากสำมะโนประชากร และการเคหะในปี 2553 ระบุว่า ประเทศไทยมีประชากรที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย ประมาณ 2.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เป็นแรงงานข้ามชาติ ส่วนใหญ่มาจากพม่า กัมพูชา และลาว แต่ตัวเลขจากนักวิจัยด้านประชากรศาสตร์ คาดการณ์ว่า แรงงานข้ามชาติทั้งที่ถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมายน่าจะมีอยู่ในไทยมากกว่า 4 ล้านคน