ในวงเสวนา "ความรุนแรงในสังคมไทย : กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต" โดยมี พ.ต.ท.หญิงธัญญรัตน์ ทิวถนอม ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน อาจารย์ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักรัฐศาสตร์อิสระ ก่อนจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Crime After Crime ที่สมาคมฝรั่งเศส ในโอกาสครบรอบ 10 ปี วันยุติโทษประหารชีวิตสากล 10 ตุลาคม 2555 จัดโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สถาบันเกอเธ่ และสถานทูตอังกฤษ นักวิชาการในแวดวงต่างๆ ที่เข้าร่วมต่างแสดงความเห็นสนับสนุนการยกเลิกโทษประหารชีวิตเพราะเป็นการก่ออาชญากรรม ซ้อนอาชญากรรม
อาจารย์ศิโรตม์ กล่าวว่า โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่มีลักษณะเฉพาะกว่าโทษแบบอื่น หากเกิดความผิดพลาด หรือบกพร่องทางกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดการลงโทษเกินกว่าเหตุ หรือลงโทษผิดคน จะไม่สามารถนำชีวิตที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ และการประหารชีวิตที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ การฆาตกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นอาชญากรรมโดยรัฐ
ขณะที่ พ.ต.ท.หญิงธัญญรัตน์ กล่าวถึงคดีการฆ่าคนตายโดยเจตนาว่า ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษประหารชีวิตเท่านั้น ซึ่งกระบวนการยุติธรรมอาจไม่ตอบโจทย์ เพราะสุดท้ายครอบครัวของผู้ได้รับโทษประหารชีวิตกลับกลายเป็นเหยื่ออยู่ดี และนับว่าโทษประหารชีวิตมีความไม่ถูกต้องในตัวเองตั้งแต่ต้น เพราะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้รัฐในการใช้ความรุนแรง
อาจารย์ศิโรตม์ กล่าวว่า โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่มีลักษณะเฉพาะกว่าโทษแบบอื่น หากเกิดความผิดพลาด หรือบกพร่องทางกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดการลงโทษเกินกว่าเหตุ หรือลงโทษผิดคน จะไม่สามารถนำชีวิตที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ และการประหารชีวิตที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ การฆาตกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นอาชญากรรมโดยรัฐ
ขณะที่ พ.ต.ท.หญิงธัญญรัตน์ กล่าวถึงคดีการฆ่าคนตายโดยเจตนาว่า ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษประหารชีวิตเท่านั้น ซึ่งกระบวนการยุติธรรมอาจไม่ตอบโจทย์ เพราะสุดท้ายครอบครัวของผู้ได้รับโทษประหารชีวิตกลับกลายเป็นเหยื่ออยู่ดี และนับว่าโทษประหารชีวิตมีความไม่ถูกต้องในตัวเองตั้งแต่ต้น เพราะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้รัฐในการใช้ความรุนแรง