นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเกษตร กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ฝนในกรุงเทพฯ จะน้อยลง อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำทะเลจีนใต้ ที่คาดว่าจะเข้าไทยในวันที่ 8-11 ตุลาคม ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกที่ภาคอีสาน และภาคกลางตอนล่าง จึงจำเป็นต้องดำเนินการลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมาตรการแรกคือ บริหารจัดการพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก รวมทั้งลาดกระบัง เพราะอาจจะส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำมากขึ้น สิ่งที่เสนอรัฐบาล และเร่งดำเนินการคือ ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 8 จุดในคลองลาดกระบัง คลองจระเข้ คลองบางโฉลง และคลองบางเสาธง ซึ่งมีปัญหาน้ำระบายออกช้ามาก ให้สามารถพร่องน้ำออกสู่ปลายคลอง และทะเลได้เร็วขึ้น มาตรการที่ 2 ในกรณีฉุกเฉิน จะสามารถนำน้ำจากนครสวรรค์ เข้าบึงบอระเพ็ดได้ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ จะเร่งพร่องน้ำออกจากแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตกอีกทางด้วย
ทั้งนี้ จะควบคุมปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนเจ้าพระยา ไม่ให้เกิน 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ด้วย
นายรอยล กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ยืนยันว่า จะมีน้ำไหลเข้าตามเป้าประมาณร้อยละ 75 ซึ่งเพียงพอสำหรับฤดูแล้ง แต่เป็นห่วงเขื่อนลำปาว ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น
ทั้งนี้ จะควบคุมปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนเจ้าพระยา ไม่ให้เกิน 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ด้วย
นายรอยล กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ยืนยันว่า จะมีน้ำไหลเข้าตามเป้าประมาณร้อยละ 75 ซึ่งเพียงพอสำหรับฤดูแล้ง แต่เป็นห่วงเขื่อนลำปาว ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น