ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ กรณีอัยการ และบริษัท ไออาร์พีซี และทีพีไอ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัททีพีไอและพวก มีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ในข้อหาร่วมกันกระทำการใดเพื่อช่วยเหลือและให้ความสะดวกกรรมการบริษัท ทำให้เกิดความเสียหายด้วยการยักยอกทรัพย์ (ไซฟ่อนเงิน) ด้วยการทำสัญญาเช่าตึกทีพีไอ ที่กลุ่มผู้ให้เช่าและผู้เช่าเป็นกลุ่มเดียวกัน และมีการชำระค่าเช่าล่วงหน้า 90 ปี เป็นเงินกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยเห็นว่า การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้า เป็นเรื่องของการบริหารจึงไม่เป็นพิรุธให้พิพากษายกฟ้อง แต่ฝ่ายอัยการและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์คดี
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุม ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า คำพิพากษาชั้นต้นนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งได้พ้นจากตำแหน่ง มีการลงลายมือชื่อร่างคำพิพากษาไว้ก่อน ที่จะรับคำแถลงปิดคดีของฝ่ายโจทก์ ทำให้คำพิพากษานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์จึงเห็นควรให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ พร้อมนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีกครั้ง ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เวลา 09.00 น. ขณะที่ นายประชัยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ โดยเดินทางกลับออกไปจากศาลทันที
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยเห็นว่า การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้า เป็นเรื่องของการบริหารจึงไม่เป็นพิรุธให้พิพากษายกฟ้อง แต่ฝ่ายอัยการและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์คดี
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุม ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า คำพิพากษาชั้นต้นนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งได้พ้นจากตำแหน่ง มีการลงลายมือชื่อร่างคำพิพากษาไว้ก่อน ที่จะรับคำแถลงปิดคดีของฝ่ายโจทก์ ทำให้คำพิพากษานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์จึงเห็นควรให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ พร้อมนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีกครั้ง ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เวลา 09.00 น. ขณะที่ นายประชัยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ โดยเดินทางกลับออกไปจากศาลทันที